สมาชิกกลุ่มที่ 1

5034207004 นายวรินทร ขาวหอมกลิ่น
5034207005 นายสุนันท์ เรืองแสง
5034207008 นายอรงค์กร โพธิ์กลัด
5034207009 นายภูวเดช โพธิสันติกุล

วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2551

แบบฝึกหัดที่ 1

3 . ระบบสารสนเทศช่วยสนับสนุนการปฏิบัติการทางธุรกิจ ช่วยตัดสินใจ สำหรับ ผู้บริหารไดอย่างไร

1 ความคิดเห็น:

ต้นกล้า กล่าวว่า...

โดยภาพรวมของระบบสนับสนุนการจัดการบริหารงานในองค์กรแล้ว จะมีการนำเอาเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาและสนับสนุนการตัดสินใจ และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ ด้านในองค์กร ดังนี้
1. เปลี่ยนแปลงโครงสร้างขององค์กร เป็นการปรับโครงสร้างขององค์กรเพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบ
ธุรกิจใหม่ที่เน้นความรวดเร็ว อาจมีการลดระดับชั้นขององค์กรให้สั้นลง กระจายอำนาจในการตัดสินใจสู่พนักงานระดับล่างมากยิ่งขึ้น
2. การแปรสภาพหรือเปลี่ยนรูปแบบของธุรกิจ อาจมีการเปลี่ยนรูปแบบของการบริหารธุรกิจใหม่ เช่น บริษัท True (Together) Corporation ที่มีการแปรสภาพและรวมธุรกิจเข้ากับบริษัทอื่น ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน เพื่อปรับตัวให้สามารถแข่งขันกับธุรกิจประเภทเดียวกันได้
3. เปลี่ยนแปลงรูปแบบและการบวนการบริหาร การจัดการงาน โดยเมื่อนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการทำงานแล้ว การทำให้มีการลด Function ในการทำงานและคงผลลัพธ์ (Output) เช่นเดิม เพื่อเป็นการลดวงรอบของเวลาในการประมวลผลกิจกรรม

การจัดการ (Management)
การจัดการกับการตัดสินใจ หมายถึง การทำงานให้บรรลุเป้าหมาย โดยใช้ทรัพยากร (Resource) ที่อยู่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งผู้จัดการคือ บุคคลที่จะต้องทำการตัดสินใจ ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของการแข่งขันทางธุรกิจ จะส่งผลให้สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ในการทำงานและการตัดสินใจมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น และการลองผิดลองถูกในการแก้ไขปัญหาหนึ่ง ๆ นั้น ไม่ใช่วิธีที่ฉลาดนักสำหรับการตัดสินใจ เพราะการตัดสินใจสามารถทดลองกับเหตุการณ์จริงได้เพียงแค่ครั้งเดียว แล้วคุณอาจไม่มีโอกาสได้ตัดสินใจอีก

ผู้จัดการและการตัดสินใจ
สำหรับการทำงานภายในองค์กรตามผังองค์กร (Organization Chart) จะมีการจัดโครงสร้างการบริหารงานแยกเป็นฝ่ายหรือแผนก และมีผู้จัดการหรือหัวหน้าฝ่าย-แผนก เป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการตัดสินใจ แต่การตัดสินใจนั้นก็จะต้องอยู่ในกรอบตามที่อำนาจหน้าที่ของตนจะทำได้ ซึ่งการตัดสินใจของผู้จัดการอาจเป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับ ตัดสินใจเพื่อการแข่งขัน ซึ่งต้องอาศัยความรวดเร็วเพื่อให้ทันต่อเหตุการณ์ และไม่ว่าผลของการตัดสินใจนั้นจะเป็นเช่นไร ผู้จัดการจะต้องรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเองเสมอ

หน้าที่ของผู้จัดจัดการ
ผู้จัดการมีหน้าที่หลัก 5 ประการ
1. วางแผน (planning)
2. จัดองค์กร (organizing)
3. ประสานงาน (coordinating)
4. ตัดสินใจ (decision)
5. ควบคุม (Control)
ภาระหน้าที่ของผู้บริหารระดับสูงและระบบสารสนเทศที่ต้องการ
ผู้บริหารระดับสูง คือ บุคคลที่มีหน้าที่บริหารจัดการองค์กรโดยภาพรวมทั้งหมดขององค์กร หรือบางครั้งอาจเป็นแผนก-หน่วยงานอิสระ มีภาระความรับผิดชอบมาก ไม่ใช่เฉพาะงานใดงานหนึ่ง เช่น งานวางแผนกลยุทธ์ งานการรักษาความอยู่รอดขององค์กร การตัดสินใจในเรื่องสำคัญ เช่น ด้านงบประมาณ ด้านบุคคลากร และแผนงานธุรกิจ นอกจากนี้ผู้บริหารระดับสูงยังเป็นผู้ที่ต้องติดต่อ เจรจาทำความตกลงร่วมมือกับองค์กรอื่น ๆ จึงเป็นผู้ที่มีภาระกิจ ความรับผิดชอบสูงที่สุดในองค์กร

ภาระหน้าที่ของผู้บริหารระดับสูง
1. ด้านการบริหาร ได้แก่
- ดูแล บำรุงรักษาองค์กร
- จัดการแหล่งเงินทุน บุคลากร กำลังการผลิตและผลผลิต
- วางแผนความต้องการทรัพยากร และเครื่องจักร
- ควบคุมดูแลงบประมาณ ค่าใช้จ่าย และการติดต่อสื่อสารขององค์กร
- กำหนดมาตรฐานในการทำงาน
- กำหนดเป้าหมายขององค์กร การดำเนินกิจกรรม และแผนงาน
2. ด้านบทบาท ได้แก่
- ติดต่อเจรจาทางธุรกิจกับองค์กรภายนอก
- ติดตามควบคุมและสั่งการ แก้ไขนโยบาย แผนงาน ตามความจำเป็นที่เหมาะสม
- เป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ (Vision) รอบรู้ เข้าใจปัญหาต่าง ๆ และรู้แนวทางแก้ไขปัญหา
3. ด้านการตัดสินใจ ได้แก่
- พิจารณาตัดสินใจ ในประเด็นต่าง ๆ ขององค์กร


แหล่งสารสนเทศเพื่อการบริหาร
ผู้บริหารจำเป็นต้องมีข่าวสารเพื่อประกอบการตัดสินใจในการทำงาน ประเภทของข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นต่อผู้บริหารระดับต่าง ๆ สามารถมาจากแหล่งต่อไปนี้
1. แหล่งข่าวสารภายในองค์กร (Internal Information) อาจมาจากแผนกต่าง ๆ ภายในองค์กร ซึ่งวิธีการเก็บรวมรวมข่าวสารนั้น อาจเก็บได้จากเอกสาร (Document) ข้อมูลรายงานสรุปผลต่าง ๆ ประจำเดือน ประจำปี หรือสื่ออื่นที่ไม่ใช่เอกสาร ข้อมูลจากแหล่งภายในองค์กร อาจประกอบด้วย
- ข่าวสารเพื่อการผลิต ได้แก่ ความต้องการสินค้าของลูกค้า (Demand) จำนวนเปอร์เซ็นต์ของการส่งคืนสินค้า ข้อความตอบกลับ (Feed Back) จากลูกค้า ข้อมูลการจัดการสายการผลิต เป็นต้น
- ข่าวสารเกี่ยวกับการบริการลูกค้า ได้แก่ ระยะเวลาในการให้บริการ เวลาตอบสนองของการบริการต่อการสั่งซื้อของลูกค้า ความพึงพอใจในบริการของลูกค้า
- ข่าวสารเกี่ยวกับพนักงาน เช่น การวัดประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากร (KPI) ทัศนคติต่อองค์กร อัตราการขาดงาน อัตราการลาออกหรือโยกย้ายแผนก
2. แหล่งข่าวสารภายนอกองค์กร (External Information) เช่น ข้อมูลสถานการณ์ทางการตลาด นโยบายภาครัฐ ทิศทางการเมือง การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี การเปิดตัวกิจกรรมใหม่ ทิศทางแผนงานของบริษัทคู่แข่ง ซึ่งแหล่งข้อมูลอาจเก็บได้จาก
- ระบบรายงานข้อมูล จากระบบคอมพิวเตอร์ภายในองค์กร
- รายงานข่าวจากสื่อประเภทต่าง ๆ
- แหล่งข่าวที่ไม่เปิดเผยภายในและภายนอกองค์กร
- ที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญในสายงานที่เกี่ยวข้อง

งานของผู้จัดการ
Mintzberg ได้กล่าวถึง บทบาทด้านการจัดการ และการตัดสินใจของผู้จัดการ ไว้เมื่อปี ค.ศ 1980 โดยมีบทบาทกับงาน 3 ด้าน ดังนี้
1. งานที่ต้องตัดสินใจระหว่างบุคคล (Interpersonal) เช่น ภาวะความเป็นผู้นำ การติดต่อประสานงาน 2. การจัดการและติดตามข่าวสาร (Informational) เช่น การตรวจสอบ ติดตามรายงาน การกระจาย
ข่าวสาร และการสั่งงานบุคคลที่เกี่ยวข้อง
3. การตัดสินใจ (Decisional) เช่น ตัดสินใจธุรกิจกับผู้ประกอบการ (Entrepreneur) การจัดการสิ่งรบกวน การจัดสรรทรัพยากร และเป็นผู้เจรจา
งานเหล่านี้ของผู้จัดการ ต้องการสารสนเทศที่จำเป็น และต้องใช้คอมพิวเตอร์สำหรับเป็นเครื่องมือช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจ

1.2 ระบบสารสนเทศและการตัดสินใจ
การจัดการ คือ กระบวนการในการบริหารจัดการ ที่จะนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมายอย่างประสบความสำเร็จโดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่

การวัดผลสำเร็จ : ผลิตผล = ผลลัพธ์ที่ได้ / วัตถุดิบนำเข้า
Measuring Success: Productivity = Outputs / Inputs



ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจ (Factors Affecting Decision Making)
1 . เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันมีอุปกรณ์และเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย ทำ
ให้เกิดการพัฒนาระบบสารสนเทศใหม่ ๆ ตามมา หากองค์กรใดไม่เปลี่ยนแปลงตนเองให้เข้ากับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่นำอุปกรณ์หรือเทคโนโลยีที่ทันสมัย ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกเข้ามาใช้ในการทำงานขององค์กร ก็จะทำให้องค์กรล้าหลัง ไม่สามารถไล่ตามองค์กรอื่นที่เขาสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาวการณ์นั้นได้ แน่นอนที่สุด วงการธุรกิจย่อมได้รับผลกระทบจากเทคโนโลยีอย่างแน่นอน ถ้าหากตามไม่ทัน และเปลี่ยนแปลงตนเองได้เชื่องช้า เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่จะทำให้เราจัดการกับข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว และทันเวลาต่อความต้องการใช้งาน การตัดสินใจจะทำได้รวดเร็วขึ้น
2. ความซับซ้อนด้านโครงสร้างองค์กร และสภาวการแข่งขันทางธุรกิจ หากองค์กรมีโครงสร้างที่ซับซ้อน
บวกกับมีแรงกดดันจากคู่แข่งทางธุรกิจ และไม่มีการปรับโครงสร้างผังองค์กร (Organization Chart) ส่งผลให้การตัดสินใจในงานแต่ละงาน จะต้องผ่านผู้บริหารหลายระดับชั้น ทำให้เกิดความล่าช้าในการอนุมัต และทำให้เสียโอกาสในการแข่งขัน
3. ตลาดโลก การกีดกันทางการค้า คุณภาพสินค้า และเสถียรภาพทางการเมือง สภาวการณ์ทาง
ตลาดโลกมีการเปลี่ยนแปลง อาจเนื่องการย้ายถิ่นฐานการผลิตจากประเทศที่ค่าจ้างแรงงานสูงไปสู่ประเทศที่มีค่าจ้างแรงงานต่ำ หรือย้ายถิ่นฐานไปลงทุนในประเทศที่มีแหล่งวัตถุดิบที่ต้องการ หรือมีการกระจายสาขาข้ามชาติ (เช่น บริษัท Mac Donal ,Testco Lotus, ฯลฯ ) การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะต้องใช้ความรู้ในการบริหารจัดการสูง
ในการย้ายถิ่นฐานการค้า แต่ละประเทศเปิดเขตการค้าเสรีไม่เท่าเทียมกัน การกีดกัน
การค้า (เช่น ญี่ปุ่น) หรือการคัดคุณภาพสินค้าที่จะส่งเข้าประเทศ (เช่น อเมริกา) หรือการขาดเสถียรภาพทางการเมือง (เช่น เขมร) ปัจจัยเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจทั้งสิ้น
4. การเปลี่ยนแปลง คือ ความไม่แน่นอนจากปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งเราไม่สามารถควบคุมปัจจัยเหล่านั้นได้ เช่น
- การจัดหาวัตถุดิบเพื่อส่งเข้าสู่โรงงาน อาจซื้อวัตถุดิบได้ในราคาที่สูง ส่งผลให้สินค้ามีต้นทุนการผลิตสูง ไม่สามารถควบคุมราคาขายให้อยู่ในระดับที่ลูกค้าพอใจได้
- กระบวนการผลิต อาจมีสายงานการผลิตที่ผิดพลาด ต้องผลิตสินค้าใหม่แทนที่สินค้าที่เสียหาย ส่งผลต่อต้นทุนสินค้าและการจัดหาวัตถุดิบเพิ่มขึ้น
- การขนส่ง อาจมีความล่าช้าในการส่งสินค้า ไม่สามารถกำหนดเวลาที่แน่นอนที่ลูกค้าจะรับสินค้า หรือสินค้าที่ได้รับเกิดความเสียหาย ชำรุดขณะเคลื่อนย้าย
- ตัวแทนจำหน่าย อาจมีการตัดราคาจากตัวแทนจำหน่าย ก่อนส่งตรงถึงผู้บริโภค
- การเปลี่ยนแปลงคำสั่งซื้อ ลูกค้ายกเลิกใบสั่งซื้อ หรือตัวเลขจำนวนการสั่งซื้อเกิดผิดพลาด ส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิต
- การส่งคืนสินค้า เมื่อลูกค้าส่งคืนสินค้าจะทำให้มีสินค้าคงเหลือเกิดขึ้น รายได้ลดลง
- สินค้าคงเหลือ จะทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา และทำให้เกิดสินค้าล้าสมัย (ค้างสต๊อก) ส่งผลกระทบต่อฝ่ายการตลาด อาจต้องขายสินค้าล้างสต๊อก
จะเห็นว่าผู้จัดการมีงานที่ต้องเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในเชิงธุรกิจอยู่ตลอดเวลา จึงจำเป็นต้องอาศัยการสนับสนุนจากการคำนวณของคอมพิวเตอร์ เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) มีความสำคัญต่อวงจรชีวิตธุรกิจ และเป็นเครื่องมือที่ช่วยเสริม - เพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจ
ปัจจุบันทุกองค์กรได้มีการปรับเปลี่ยนโดยนำคอมพิวเตอร์เข้าไปใช้งาน พนักงาน ผู้จัดการ และผู้บริหาร จำเป็นต้องเรียนรู้การใช้งานคอมพิวเตอร์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสายงานของตนเอง หากพนักงานไม่ยอมที่จะเรียนรู้ จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานขององค์กรลดลง พนักงานที่ไม่เปลี่ยนแปลงรับสิ่งใหม่ ๆ อาจจำเป็นต้องโยกย้ายหรือเปลี่ยน เนื่องจากขาดประสิทธิภาพในการทำงาน
โดยส่วนใหญ่ผู้บริหารในองค์กรมักจะถูกแต่งตั้งมาจากบุคลากรฝ่ายการตลาด หรือฝ่ายการเงิน แต่ปัจจุบัน บุคลากรฝ่าย IT ก็มีแนวโน้มที่จะก้าวเข้าสู่ตำแหน่งผู้บริหาร แต่จะต้องมีความรู้ IT เป็นอย่างดีรวมกับความรู้ทางด้านบริหารและจัดการ

แหล่งที่มา
http://gurukm.igetweb.com/?mo=3&art=156602