สมาชิกกลุ่มที่ 1
5034207004 นายวรินทร ขาวหอมกลิ่น
5034207005 นายสุนันท์ เรืองแสง
5034207008 นายอรงค์กร โพธิ์กลัด
5034207009 นายภูวเดช โพธิสันติกุล
5034207005 นายสุนันท์ เรืองแสง
5034207008 นายอรงค์กร โพธิ์กลัด
5034207009 นายภูวเดช โพธิสันติกุล
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
1 ความคิดเห็น:
อินเทอร์เน็ตคืออะไร
คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ และเป็นทั้งเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ และ เครือข่ายของเครือข่าย เพราะประกอบด้วยเครือข่ายย่อยเป็นจำนวนมากต่อเชื่อมเข้าด้วยกันใต้
มาตรฐานเดียวกันจนเป็นสังคมเครือข่ายขนาดใหญ่ คอมพิวเตอร์ในอินเทอร์เน็ตทุกเครื่องใช้มาตรฐาน TCP/IP เดียวกัน
อินเทอร์เน็ตสำคัญอย่างไร
หลายประเทศทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญกับ เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) หรือเรียกโดยย่อว่า “ไอที”ซึ่งหมายถึง ความรู้ในวิธีการประมวลผล จัดเก็บรวบรวม เรียกใช้ และนำเสนอข้อมูลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือที่จำเป็นต้องใช้สำหรับงานไอที คือ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสาร โทรคมนาคมตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานด้านสื่อสารไม่ว่าจะเป็นสายโทรศัพท์ ดาวเทียม หรือเคเบิลใยแก้วนำแสงอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งในการประยุกต์ใช้ไอที หากเราจำเป็นต้องอาศัยข้อมูล
ข่าวมูลในการทำงานประจำวันอินเทอร์เน็ตจะเป็นช่องทางที่ทำให้เราเข้าถึงข้อมูลได้ในเวลาอันรวดเร็วข่าวสารหรือเหตุการณ์ความเป็นไปต่าง ๆ ทั่วโลกที่เกิดขึ้นในปัจจุบันสามารถสืบค้นได้จากอินเทอร์เน็ตเช่นกัน
อินเทอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งข่าวที่ทันสมัยและช่วยให้รับรู้ข่าวสารที่เกิดขึ้นในมุมอื่น ๆ ของโลกได้อย่างรวดเร็วกว่าสื่ออื่น ๆ อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลแหล่งใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นที่รวบรวมทั้งการบริการและเครื่องมือสืบค้นข้อมูลหลายประเภท จนกระทั่งกล่าวได้ว่าอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งในระดับบุคคลและองค์กร
ตัวอย่างจากการใช้อินเทอร์เน็ต
นักเรียนมัธยมของโรงเรียนแห่งหนึ่งในประเทศไทยกำลังส่งจดหมายอิเลกทรอนิกส์เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับประเทศของตนกับนักเรียนในประเทศเนเธอแลนด์การที่เป็นการหาเพื่อนในต่างประเทศที่ไม่เคยเห็นหน้ากัน สามารถสนุกสนานกับข้อความที่ส่งถึงกัน
ครั้งหนึ่งนักวิจัยสาวที่เปอตอริโอกำลังทำการวิจัยเกียวกับงานวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของเธอ เธอได้รับการติดต่อจากนักศึกษาปริญญาเอกที่นิวยอร์คในเรื่องงานที่มีความสนใจคล้ายกัน ทั้งสองได้ติดต่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันตลอดโดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จนในที่สุดบุคคลทั้งสองได้สำเร็จการศึกษาและเข้าทำงานในบริษัทและองค์กรที่มั่งคั่ง เขาและเธอก็ยังคงติดต่อกันผ่านอิเล็กทรอนิกส์เมล์ และแล้วฝ่ายชายบินไปพบสาวในที่สุดทั้งสองก็พบรักกัน จนถึงขั้นตกลงปลงใจที่จะแต่งงานกัน อินเทอร์เน็ตก็เข้ามามีบทบาทในการให้เขาและเธอที่อยู่ห่างไกลกันใช้เป็นสะพาานเชื่อมเพื่อวางแผนการแต่งงานและออกบัตรรเชิญเป็นอิเล็กทรอนิกส์เมล์ถึงเพื่อนฝูง
ในช่วงเหตุการณ์เดือนพฤษภาทมิฬ ที่กล่าวได้ว่าเป็นเหตุการณ์ที่เลวร้ายครั้งหนึ่งของประเทศไทย ข่าวสารหลายอย่างได้แพร่หลายกระจายออกไปยังหน่วยงานต่างประเทศอิเล็กทรอนิกส์ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่นักข่าวใช้กันมากมาย
ใครเป็นผู้ดูแลอิเล็กทรอนิกส์
การเชื่อมต่อเข้าเป็นอินเทอร์เน็ตอาศัยการบริหารแบบกระจายอำนาจ อินเทอร์เน็ตจึงไม่มีใครเป็นเจ้าของหรือควบคุมดูแลอย่างแท้จริงเครือข่ายแต่ละส่วนในอินเทอร์เน็ตต่างบริหารเครือข่ายของตนเองอย่างเป็นอิสระโดยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายติดตั้งระบบและการเช่าวงจรสื่อสารเพื่อเชื่อมเข้าด้วยกันแต่ในทางปฏิบัติแล้วอินเทอร์เน็ตมีองค์กรระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นเพื่อประสานความร่วมมือ ระหว่างสมาชิกองค์การนี้ได้แก่ ISOC หรือสมาคมอินเทอร์เน็ต (Internet Society)
ISOC เป็นองค์กรเพื่อความร่วมมือและประสานงานของสมาชิกอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศเป็นองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไรและมีนโยบายสนับสนุนการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นโครงสร้างพื้นฐานอย่างหนึ่งสำหรับการศึกษาและงานวิจัย และทำหน้าที่ส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ให้แก่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วไป ISOC ยังทำหน้าที่พัฒนามาตรฐานและเทคโนโลยีเพื่อใช้ ในอินเทอร์เน็ต ภายใน ISOC มีคณะทำงานอาสาสมัครร่วมวางแนวทางพัฒนาอินเทอร์เน็ต ให้สมาชิกถือปฏิบัติแต่ไม่มีดูแลหรือควบคุมการบริหารเครือข่ายแต่อย่างใด
ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต
ประวัติความเป็นมาและมีการพัฒนามาอย่างเนื่องนับตั้งแต่การเกิดของเครือข่ายอาร์เน็ต ในปี พ.ศ. 2512 ก่อนที่จะก่อตัวเป็นอินเทอร์เน็ตจะกระทั่งถึงทุกวันนี้อินเทอร์เน็ตมีพัฒนาการมา (ARPAnet) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้ การรับผิดชอบของ อาร์พา (Advanced Research Projects Agency) ในสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาอาร์พาเน็ตในขั้นต้นเป็นเพียงเครือข่ายทดลองที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นการสนับสนุนงานวิจัยด้านการทหารและโดยเนื้อแท้แล้าอาร์พาเน็ตเป็นผลพวงมาจากการเมืองโลกในยุคสงครามเย็นระหว่างค่าย คอมมิวนิตย์และค่ายเสรีประชาธิปไตย
ยุคสงครามเย็น ในทศวรรษของปี พ.ศ.2510 นับเป็นเวลาแห่งความตึงเครียดเนื่องจากภาวะสงครามเย็นระหว่างประเทศในค่ายคอมมิวนิตย์และค่ายเสรีประชาธิปไตย สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศผู้นำ กลุ่มเสรีประชาธิปไตยได้ก่อตั้งห้องปฏิบัติการทดลองเพื่อค้นคว้าและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีด้านระบบคอมพิวเตอร์
ช่วงท้ายของทศวรรษ 2510 ห้องปฏิบัติการวิจัย ในสหรัฐฯ และในมหาวิทยาลัยใหญ่ ๆ ล้วนแล้วแต่มีคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยในยุคนั้นติดตั้งอยู่ คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะแยกกันทำงานโดยอิสระ มีเพียงบางระบบที่ตั้งอยู่ใกล้กันเท่านั้นที่สื่อสารกันทางอิเล็กทรอนิกส์แต่ก็ด้วยความเร็วต่ำ
ห้องปฏิบัติการหลายแห่งได้พัฒนาระบบสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้นหากแต่ยังไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบได้กับเทคโนโลยีการสื่อสารที่มีใช้อยู่ในปัจจุบัน
ปัญหาและอุปสรรคสำคัญคือ คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายจะต้องอยู่ในสภาพทำงานทุกเครื่อง หากเครื่องใดเครื่องหนึ่งหยุดทำงานลงการสื่อสารจะไม่สามารถดำเนินต่อไปได้จนกว่าจะตัดเครื่องออกไป จากเครือข่าย ข้อจำกัดนี้ทำให้ระบบเครือข่ายไม่อยู่ในสภาพที่เชื่อถือได้และลำบากต่อการควบคุมดูแล โครงการอาร์พาเน็ต
อาร์พาเป็นหน่วยงานย่อยของกระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ ทำหน้าที่สนับสนุนงานวิจัยพื้นฐานทั้งทางด้านเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์อาร์พาไม่ได้ทำหน้าที่วิจัยโดยตรงอีกทั้งยังไม่มีห้องทดลอง เป็นของตนเอง หากแต่กำหนดหัวข้อวิจัยและให้ทุนแก่หน่วยงานอื่นซึ่งส่วนใหญ่เป็นมหาวิทยาลัย และบริษัทเอกชนที่ทำงานวิจัยและพัฒนา อาร์พาได้จัดสรรทุนวิจัยเพื่อทดลองสร้างเครือข่ายให้คอมพิวเตอร์สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ในชื่อโครงการ “อาร์พาเน็ต” (ARPAnet) โดยเริ่มต้นงานวิจัยในเดือนมกราคม พ.ศ. 2512 รูปแบบเครือข่ายอาร์พาเน็ตไม่ได้ต่อเชื่อมโฮสต์ (Host) คอมพิวเตอร์เข้าถึงกันโดยตรงหากแต่ใช้คอมพิวเตอร์ เรียกว่า IMP (Interface Message Processors) ต่อเชื่อมถึงกันทางสายโทรศัพท์เพื่อทำหน้าที่สื่อสารโดยเฉพาะซึ่งแต่ละ IMP สามารถเชื่อมได้หลายโฮสต์กำเนิดอาร์พาเน็ต วันที่ 2 กันยายน พ.ศ.2512ได้มีการทดลองเชื่อมโยง IMP ระหว่างมหาวิทยาลัย 4 แห่งโดยมีโฮสต์ต่างชนิดกันที่ใช้ระบบปฏิบัติการต่างกัน คือ
1.มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แห่ง ลอส แอนเจลิส ใช้เครื่อง SDS Sigma 7 ภายใต้ระบบปฏิบัติการ SEX (Sigma Executive)
2.สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด ใช้เครื่อง SDS 940 และระบบปฏิบัติการ Genie
3.มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แห่ง ซานตา บาร์บารา มีเครื่อง IBM 360/75 ทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติการ OS/MVT
4.มหาวิทยาลัยยูทาห์ ที่ซอลต์เลคซิตี้ ใช้เครื่อง DEC PDP-10 ภายใต้ระบบปฏิบัติการ Tenex
เครือข่ายที่เชื่อมโยงมหาวิทยาลัยทั้ง 4 แห่ง นับเป็นจุดกำเนิดของอาร์พาเน็ตก่อนที่จะพัฒนาจนกระทั่งกลายเป็นอินเทอร์เน็ตในเวลาเดียวต่อมา อาร์พาเน็ตในขั้นต้นเป็นเครือข่ายเชิงทดลองเพื่อศึกษาว่ารูปแบบเครือข่ายที่ใช้มีความเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด สามารถส่งผ่านข้อมูลได้รวดเร็วเพียงใดโดยจุดประสงค์หลักแล้วอาร์พา ต้องการพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อการทหารที่มีคุณลักษณะเฉพาะคือ แม้ว่าคอมพิวเตอร์บางจุดในเครือข่ายจะหยุดทำงานหรือสายสื่อสารบางเส้นทางถูกตัดขาด คอมพิวเตอร์ส่วนที่เหลือในเครือข่ายยังควรติดต่อสื่อสารถึงกันได้อยู่ นอกจากนี้ยังต้องสามารถเชื่อมคอมพิวเตอร์ที่มี Hardware แตกต่างกันเข้าสู่ เครือข่ายได้ อาร์พาเน็ตเปิดตัวสู่สาธารณชนเป็นทางการครั้งแรกในงาน ICCC (International Conference on Computer and Communication) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงวอชิงตัน ดี ซี เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.2525
ยุคของโปรโตคอลทีซีพี/ไอพี หนึ่งปีให้หลังจากงาน ICCC อาร์พาเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “ดาร์พา” (Defense Advance Project Agency) และได้เริ่มงานวิจัยโครงการใหม่เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการต่อเชื่อมระหว่าง คอมพิวเตอร์ ซึ่งจะรับส่งข้อมูลถึงกันได้ย่อมต้องปฏิบัติตามข้อตกลงที่กำหนดวิธีการสื่อสารถึงกัน ตัวอย่างของข้อตกลงในการสื่อสารมีดังเช่น ลักษณะของข้อมูล ขนาดข้อมูลจะส่งถึงกันครั้งละ กี่ไบต์ชุดข้อมูลที่ส่งไปจะต้องมีข้อมูลอื่นส่งผนวกไปอย่างไรบ้างหรือเมื่อมีความผิดพลาดเกิดขึ้นในการรับส่งจะต้องตรวจสอบหรือดำเนินการอย่างไรต่อไป
ข้อตกลงระหว่างกันนี้เรียกตามศัพท์เทคนิคว่า โปรโตคอล (Protocol) Protocol เป็นข้อกำหนดที่อธิบายวิธีสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการออกแบบโปรแกรมไม่ว่าคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายจะมี Hardware แตกต่างกันหรือไม่ก็ตามหากว่าทำงานตามProtocol ที่กำหนดแล้วสามารถสื่อสารถึงกันได้เสมอ Protocol ที่ใช้ในระยะต้นของอาร์พาเน็ตเป็น Protocol ที่เรียกว่า Network Control Protocol ซึ่ง Protocolนี้มีข้อจำกัดด้านรูปแบบของการใช้สายสื่อสาร และจำนวนโฮส์ที่จะเชื่อม ต่อเข้าด้วยกัน
อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
การเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตของประเทศไทยมีจุดกำเนิดมาจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัย หรือที่เรียกว่า “แคมปัสเน็ตเวอร์ก” (Campus Network)เครือข่ายดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจาก “ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ” (NECTEC) จนกระทั่ง เชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตโดยสมบูรณ์ในเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ.2535 พัฒนาการ ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยใช้ E – mail ตั้งแต่ปี พ.ศ.2530 โดยเริ่มที่ “มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่” เป็นแห่งแรกและสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ภายใต้ความร่วมมือระหว่างไทยและออสเตรเลียในช่วงเวลาต่อมา ในขณะนั้นยังไม่ได้มีการเชื่อมแบบ On – line หากแต่เป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสารด้วย E – mail โดยใช้ระบบ MSHnet และ UUCP โดยทางออสเตรเลียจะโทรศัพท์เชื่อมเข้าสู่ระบบวันละ 2 ครั้ง ในปีถัดมา NECTEC ซึ่งภายใต้ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน (ชื่อเดิมในขณะนั้น) ได้จัดสรรทุนดำเนินการโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของสถาบันอุดมศึกษา โดยแบ่ง โครงการออกเป็น 2 ระยะ การดำเนินงานในระยะแรกเป็นการเชื่อมโยง 4 หน่วยงาน ได้แก่
กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตุเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ระยะที่สองเป็นการเชื่อมต่อสถาบันอุดมศึกษาที่เหลือ คือ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตธนบุรี
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตพระนครเหนือ
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
เดือนธันวาคม ปี พ.ศ.2534 คณะทำงานของ NECTEC ร่วมกับกลุ่มอาจารย์และนักวิจัยจากสถาบันอุดมศึกษาได้ก่อตั้งกลุ่ม NEWgroup (NECTEC E – mail Working Group) เพื่อ ประสานงานและและเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้วย E – mail โดยยังคงอาศัยสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียเป็นทางออกสู่อินเทอร์เน็ตผ่างทางออสเตรเลียปี พ.ศ. 2538 รัฐบาลไทยได้ประกาศให้เป็นปีแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Year) เนื่องจากตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารข้อมูล ในขณะเดียวกันก็มีการดำเนินการจัดวางเครือข่ายความเร็วสูงโดยใช้ใยแก้วนำแสงเพื่อใช้เป็นสายสื่อสาร ไทยสาร ในการพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อร่วมใช้วงจรสื่อสาร จนกระทั่งในเดือนธันวาคมปีเดียวกันมีหน่วยงาน 6 แห่งที่ เชื่อมต่อแบบ On – line โดยสมบูรณ์ ได้แก่ NECTEC, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เครือข่ายที่ก่อตั้งมี ชื่อว่า “ไทยสาร” (Thaisarn : Social/scientific, Academic and Research Network) หรือ “ไทยสารอินเทอร์เน็ต” ในปี พ.ศ.2536 NECTEC ได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาทีจากการสื่อสารแห่งประเทสไทยเพื่อเพิ่มความสามารถในการขนส่งข้อมูล ทำให้ประเทศไทยมีวงจรสื่อสารระดับที่ให้บริการแก่ผู้ใช้ไทยสารอินเทอร์เน็ต 2 วงจร
ในปัจจุบันวงจรเชื่อมต่อไปยังต่างประเทศที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและ NECTEC ได้รับการปรับปรุงให้มีความเร็วสูงขึ้นตามลำดับนับตั้งแต่นั้นมาเครือข่ายไทยสารได้ขยายตัวกว้างขึ้น และมีหน่วยงานอื่นเชื่อมเข้ากับไทยสารอีกหลายแห่ง ในช่วงต่อมากลุ่มสถาบันอุดมศึกษาประกอบด้วย สำนักวิทยบริการ จุฬาฯ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญได้รวมตัวกันเพื่อแบ่งส่วนค่าใช้จ่ายวงจรสื่อสารโดยเรียกชื่อกลุ่มว่า “ไทยเน็ต” (THAInet)
สมาชิกส่วนใหญ่ของไทยสาร คือ สถาบันอุดมศึกษา กับหน่วยงานราชการบางหน่วยงานและ NECTEC ยังเปิดโอกาสให้กับบุคลากรของหน่วยงานราชการที่ยังไม่มีเครือข่ายภายในเป็นของตัวเองมาขอใช้บริการได้แต่ทว่ายังมีกลุ่มผู้ที่ต้องการใช้บริการอินเทอร์เน็ตอีกเป็นจำนวนมากทั้งบริษัทเอกชนและบุคคลทั่วไปซึ่งไม่สามารถใช้บริการจากไทยสารอินเทอร์เน็ตได้ ทั้งนี้เพราะไทยสารเป็นเครือข่ายเพื่อการศึกษาและวิจัยที่ใช้เงินงบประมาณอุดหนุนจากรัฐบาลใต้ข้อบังคับกฏหมายด้านการสื่อสาร จึงไม่สามารถให้นิติบุคคลอื่นร่วมใช้เครือข่ายได้
เราจะเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้อย่างไร
อุปกรณ์
คอมพิวเตอร์ เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานได้ ควรจะใช้เครื่องระดับ 486X ขึ้นไป แรม 16 เมกะไบท์ขึ้นไป
โมเด็ม สามารถแยกได้เป็น 3 ชนิด แต่ละชนิดก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไปดังนี้
โมเด็มแบบติดตั้งภายใน โมเด็มชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์นำมาติดตั้งเข้ากับาภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรงรูปร่างจะแตกต่างกันตามที่ผู้ผลิตจะออกแบบมาสำหรับ คอมพิวเตอร์ชนิดนั้น ๆ โมเด็มชนิดนี้จะใช้ไฟฟ้าจากพาวเวอร์ซับพลายที่มันต่ออยู่ ทำให้เราไม่ต้องต่อไฟหม้อแปลงต่างหากจากภายนอก ส่วนมากโมเด็มติดตั้งภายในจะทำการติดตั้งผ่านทาง Port อนุกรม RS-232C รวมอยู่ด้วย ทำให้ไม่มีปัญหาในเรื่อง Port อนุกรมรุ่นเก่าที่ติดมากับเครื่องคอมพิวเตอร์การเชื่อมต่อโมเด็มกับเครื่องคอมพิวเตอร์จะต่อทาง slot มาตรฐานในเครื่องคอมพิวเตอร์และเมื่อติดตั้งแล้วจะไม่เปลืองเนื้อที่ภายนอกใดๆ เลย และโมเด็มสำหรับติดตั้งภายในจะมี จุดให้ผู้ใช้เสียบสายโทรศัพท์เข้ากับโมเด็มโดยใช้ปลั๊กโทรศัพท์ธรรมดา แบบ R-J 11 และมีลำโพงประกอบด้วย
โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก จะมีลักษณะเป็นกล้องสี่เหลี่ยมแบน ๆ ภายในมีวงจรโมเด็มไฟสถานะและลำโพง เนื่องจากต่อภายนอกจึงต้องมี adapter แปลงสัญญาณก่อนและจะมีสายต่อแบบ 25 ขา DB25 เอาไว้ใช้เชื่อมต่อผ่านทาง port อนุกรม RS – 232C
PCMCIA (Personal Computer Memory Card International Asociation) จะเป็นโมเด็มที่มีขนาดเล็กที่สุดคือ มีขนาดเท่ากับบัตรเครดิตและหนาเพียง 5 มิลเท่านั้นซึ่งโมเด็มชนิดนี้ออกแบบมาโดยให้คอมพิวเตอร์โน๊ตบุคโดยเฉพาะซึ่งในปัจจุบันโมเด็มชนิดนี้จะมีความเร็วพอ ๆ กับโมเด็มที่ติดตั้งภายนอกและภายใน ในปัจจุบันนี้โมเด็มมีความเร็วสูงสุดที่ 56Kbps (Kilobyte per second) โดยจะใช้มาตรฐาน V.90 เป็นตัวกำหนด
Software เช่น Netscape, Internet Explorer
รหัสผ่านเข้าเครือข่ายที่จะได้จากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP)
Domain Name System (DNS)
เราทราบแล้วว่าการติดต่อกันในอินเทอร์เน็ตซึ่งใช้โปรโตคอล TCP/IP คุยกันโดยจะต้องมีหมายเลข IP ในการอ้างอิงเสมอ แต่หมายเลข IP นี้ถึงแม้จะจัดแบ่งเป็นส่วน ๆ แล้วก็ยังมีอุปสรรคในการที่ต้องจดจำ ถ้าเครื่องที่อยู่ในเครือข่ายมีจำนวนมากขึ้น การจดจำหมายเลข IP ดูจะเป็นเรื่องยาก และอาจสับสนจำผิดได้ แนวทางแก้ปัญหาคือการตั้งชื่อหรือตัวอักษรขึ้นมาแทนที่หมายเลข IP น่าจะสะดวกในการจดจำมากกว่า เช่น หมายเลข IP คือ 202.183.233.21 แทนที่ด้วยชื่อ dusit.ac.th ผู้ใช้บริการสามารถจดจำชื่อ dusit.ac.th ได้แม่นยำกว่า
นอกจากนี้ในกรณีเครื่องเสีย หรือต้องการเปลี่ยนแปลงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ จากเครื่องที่มีหมายเลข IP 202.183.233.21 เป็น 202.183.233.21.30 ผู้ดูแลระบบจะจัดการแก้ไขฐานข้อมูลให้เครื่องใหม่มีชื่อแทนที่เครื่องเดิมได้ทันที โดยไม่ต้องโยกย้ายฮาร์ดแวร์แต่อย่างใด
ส่วนในมุมมองของผู้ใช้ ก็ไม่ต้องแก้ไขอะไรทั้งสิ้น ยังคงสามารถใช้งานได้เหมือนเดิม สำหรับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้มีการพัฒนากลไกการแทนที่ชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการกับหมายเลข IP หรือ name – to –IP Address ขึ้นมาใช้งานและเรียกกลไกนี้ว่า Domain Name System (DNS) โดยมีการจัดเก็บฐานข้อมูลชื่อและหมายเลข IP เป็นลำดับ(hierachical structure) อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่พิเศษ ที่เรียกว่า Domain Name Server หรือ Name Server โครงสร้างของฐานข้อมูล Domain Name นี้ในระดับบนสุดจะมีความหมายบอกถึง ประเภทขององค์กร หรือชื่อประเทศที่เครือตั้งอยู่ชื่อ Domain ในชั้นบนสุดเหล่านี้จะใช้ตัวอักษรเล็กหรือใหญ่ก็ได้ แต่นิยมใช้อักษรเล็กโดยมีการกำหนดมาจากหน่วยงานที่เรียกว่า InterNIC (Internet Network Information Center) จากระดับบนสุดก็จะมีระดับล่าง ๆ ลงมาซึ่งใช้แทนความหมายต่าง ๆ แล้วแต่ผู้จัดตั้งจะกำหนดขึ้น เช่น ตั้งตามชื่อคณะ หรือภาควิชาในมหาวิทยาลัย ตั้งตามชื่อฝ่ายหรือแผนกในบริษัท เป็นต้นแต่ละระดับจะถูกแบ่งคั่นด้วยเครื่องหมายจุดเสมอการดูระดับ จากบนลงล่างให้ดูจากด้านขวามาซ้าย
ในการกำหนดหรือตั้งชื่อแทนหมายเลข IP นี้จะต้องลงทะเบียนและขอใช้ที่หน่วยงาน INterNIC เสียก่อน ถ้าได้รับอนุญาตและลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว จะมีการจัดเก็บเพิ่มฐานข้อมูล name-to-IP-address เพื่อให้ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตสามารถอ้างอิงเข้ามาใช้บริการได้ เหมือนกับการของจดทะเบียนตั้งชื่อบริษัทที่ต้องมีผู้รับผิดชอบในการเก็บข้อมูลเป็นนายทะเบียนและคอยตรวจดูว่าชื่อนั้นจะซ้ำคนอื่นหรือไม่ ถ้าไม่มีปัญหาก็อนุญาติให้ใช้ได้ชื่อ Domain Name นี้จะมีความยามทั้งหมดไม่เกิน 255 ตัวอักษร แต่ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องระดับชั้น ดังนั้นในชื่อหนึ่ง ๆ อาจมีหลายระดับได้ตามต้องการ
ข้อสังเกตที่สำคัญคือก็ชื่อและจุดเหล่านี้ไม่เกี่ยวกับจุดในตัวเลขที่เป็น IP Address แต่อย่างใด ขบวนการหรือกลไกในการแปลงชื่อ Domain กลับเป็นหมายเลข IP หรือ Name Mapping นี้อยู่ที่การจัดการฐานข้อมูล Domain Name แบบกระจาย โดยเริ่มจากเมื่อมีโปรแกรมอ้างถึงชื่อโดเมนเครื่องหนึ่งก็จะมีการสอบถามไปที่ฐานข้อมูลในเครื่องที่ทำหน้าที่เป็น Name Server (ซึ่งอาจเป็นเครื่องเดียวกันนั้นเองหรือคนละเครื่องก็ได้ และอาจมี Name Server ก็จะเรียกดูในฐานข้อมูลและถ้าพบชื่อที่ต้องการก็จะจัดการแปลงชื่อ Domain เป็นหมายเลข IP ที่ถูกต้องให้
ระบบ Name Server นี้จะมีติดตั้งกระจายไปในหลายเครื่องบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เนื่องจากอย่างน้อยหน่วยงาน ISP หนึ่ง ๆก็จะต้องจัดตั้งระบบดังกล่าวขึ้นมาเพื่อคอยดูแลจัดการฐานข้อมูล Domain Name ของเครือข่ายตนเอง
การกำหนดชื่อผู้ใช้และชื่อ Domain
ความสามารถของ Domain Name System ที่ทำหน้าที่แปลงระบบชื่อให้เป็นหมายเลข IP นี้ได้ถูกนำมาใช้กว้างขวางมากขึ้น
กฏเกณฑ์ในการกำหนดก็ไม่ยุ่งยาก โดยชื่อผู้ใช้จะมีรูปแบบดังนี้
ชื่อ_user @ ชื่อ _subdomain.ชื่อ _Subdomain…[…]. ชื่อ_Domain
ชื่อ_user จะเป็นตัวอักษรแทนชื่อเฉพาะใด ๆ เช่น ชื่อผู้ใช้ด้านหนึ่งที่จะรับหรือส่ง E-mail ท้ายชื่อ user นี้จะมีเครื่องหมาย @ ซึ่งอ่านว่า “แอท”หมายถึง “อยู่ที่เครื่อง” แบ่งคั่นออกจากส่วนที่เหลือ
ชื่อ_Subdomain เป็นส่วนย่อยที่จะใช้ขยายให้ทราบถึงกลุ่มต่าง ๆ ใน domain นั้นเช่น กรณีที่บริษัทมีหลายหน่วยงาน จึงจัดเป็นกลุ่ม ๆ ตั้งชื่อไว้อยู่ใน Subdomain ต่างๆ ซึ่งในที่หนึ่ง ๆ อาจจะมี subdomain หลายระดับก็ได้ และชื่อ subdomain ตัวสุดท้ายมักเป็นชื่อโฮสต์คอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้รายนั้นใช้อยู่นั่นเอง
ชื่อ_Domain ตามปกติชื่อ domain จะอยู่ทางด้านขวาสุดของชื่อ DNS ใช้สำหรับระบุประเภทของกิจกรรมของเครือข่ายนั้น ๆ เวลาที่มีการติดต่อกัน เช่น ในการส่ง E-mail ชื่อดังกล่าวนี้ก็จะใช้เป็นตัวอ้างอิงเสมือนชื่อและที่อยู่ของผู้ใช้รายนั้น ๆ หรือเรียกว่าเป็น E-mail address นั่นเอง
บริการต่าง ๆ ในอินเทอร์เน็ต
เครือข่ายอินเทอร์เน็ต คือเครือข่ายของเครือข่ายที่มีการเชื่อมโยงกันไปทั่วโลกในแต่ละเครือข่ายก็จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ใช้บริการ ซึ่งอาจเรียกว่าเป็นเซิร์ฟเวอร์ (Server) หรือ โฮสต์ (Host) เชื่อมต่ออยู่เป็นจำนวนมาก ระบบคอมพิวเตอร์เหล่านี้จะให้บริการต่างๆ แล้วแต่ลักษณะและจุดประสงค์ที่เจ้าของเครือข่ายนั้นหรือเจ้าของระบบคอมพิวเตอร์นั้นตั้งขึ้นไป ในอดีตมักมีเฉพาะบริการเรื่องข้อมูลข่าวสารและโปรแกรมที่ใช้ในแวดวงการศึกษาวิจัยเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันก็ได้ขยายเข้าสู่เรื่องของการค้าและธุรกิจแทบจะทุกด้าน บริการต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ตอาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
1.บริการด้านการสื่อสาร
เป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดต่อรับส่งข้อมูลแลกเปลี่ยนกันได้ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งรวดเร็วกว่าการติดต่อแบบธรรมดาและมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างถูกกว่ามาก
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ผู้ใช้บริการสามารถติดต่อรับ-ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรือ E-mail กับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกกว่า 20 ล้านคนได้ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอีก และบริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์นี้ก็รวดเร็วทันใจและสะดวก
สนทนาแบบออนไลน์ (Chat) ผู้ใช้บริการสามารถคุยโต้ตอบกับผู้ใช้คนอื่นๆ ในอินเทอร์เน็ตได้ในเวลาเดียวกัน (โดยการพิมพ์เข้าไปทางคีย์บอร์ด) เสมือนกับการคุยกันแต่ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ของทั้งสองที่ ซึ่งก็สนุกและรวดเร็วดี บริการสนทนาแบบออนไลน์นี้เรียกว่า Talk เนื่องจากใช้โปรแกรมที่ชื่อว่า Talk ติดต่อกัน หรือจะคุยกันเป็นกลุ่มหลาย ๆ คน ในลักษณะของการ Chat (ชื่อเต็ม ๆ ว่า Internet Relay Chatหรือ IRC ก็ได้) ในปัจจุบันก็ได้พัฒนาไปถึงขั้นที่สามารถใช้ภาพสามมิติภาพเคลื่อนไหวหรือการ์ตูนต่าง ๆ แทนตันคนที่สนทนากันได้แล้วและยังสามารถคุยกันด้วยเสียงในแบบเดียวกับโทรศัพท์ ตลอดจนแลกเปลี่ยนข้อมูลบนจอภาพหรือในเครื่องของผู้สนทนาแต่ละฝ่ายได้อีกด้วย
เนื่องจาก IRC เป็นกิจกรรมที่เปิดกว้างกล่าวคือเป็นใครก็ได้ที่จะเข้าร่วมก็ได้รวมทั้งไม่จำกัดหรือกฏเกณฑ์ใดๆ มากมายนัก เพราะฉะนั้น IRC จึงเป็นศูนย์ที่สามารถรวบรวมผู้คนหลากหลายไม่ว่าจะเป็นวัย อาชีพ ประสบการณ์ต่างๆ ไว้ได้อย่างกลมกลืนแต่ว่าแต่ละคนต่างก็มีความสนใจในการที่จะเข้าช่องสนทนาต่างๆกันไป
2. “กระดานข่าว” หรือบูเลตินบอร์ด
บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีการให้บริการในลักษณะของกระดานข่าวหรือบูเลตินบอร์ด(คล้ายๆ กัระบบ Bulletin Board System หรือ BBS) โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยๆ จำนวนหลายพันกลุ่ม เรียกว่าเป็นกลุ่มข่าวหรือ Newsgroup ทุกๆ วัน จะมีผู้ส่งข่าวสารกันผ่านระบบดังกล่าว โดยแบ่งแยกออกตามกลุ่มที่สนใจ เช่น กลุ่มผู้สนใจ ศิลป กลุ่มผู้สนใจ เพลงร็อค กลุ่มวัฒนธรรมยุโรป ฯลฯนอกจากนี้ก็มีกลุ่มที่สนใจในเรื่องของประเทศต่างๆ เช่นกลุ่ม Thai Group เป็นต้นการอ่านข่าวจาก Newsgroup การอ่านข่าวจากกลุ่มข่าวต่างๆ ใน Usenet (User Network) หรือเรียกชื่อหนึ่งว่า Newsgroup นั้นนับเป็นช่องทางหนึ่งในการติดต่อแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นกับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตคนอื่น ๆ ในระดับโลก ซึ่งมักจะใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักในการสื่อสารกัน ซึ่งใน Usenet นี้ เราสามารถเลือกอ่านข้อความในหัวข้อที่เราสนใจ และฝากข้อความที่อยากจะรู้ไว้เมื่อมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกเข้ามาพบข้อความดังกล่าวก็จะมีการแลกเปลี่ยน พูดคุยกัน ถ้าเราไม่สนใจในกลุ่มข่าวสารที่เคยเป็นสมาชิกอยู่อีกต่อไปเราก็อาจยกเล็กการเป็นสมาชิก (Unsubscribe) ของกลุ่มข่าวนั้นและไปเป็นสมาชิกของกลุ่มอื่น ๆ แทนก็ได้
การเป็นสมาชิกและการบอกเลิกสมาชิกของกลุ่มข่าวต่างๆ นั้นรวมทั้งการใช้บริการ Usenet จะไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิน บริการ Usenet จะมีการทำงานแบบ Client/Server ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราจะต้องของเราจะต้องไปขอใช้บริการจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นที่เปิดให้บริการนี้อยู่ และเราต้องกำหนดชื่อของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะเข้าไปใช้บริการ Usenet ให้โปรแกรมสำหรับอ่านข่าวทราบก่อนเสมอ จึงจะไปดึงชื่อของกลุ่มข่าว และหัวข้อข่าวมาให้เราได้
อย่างไรก็ตาม Usenet เป็นบริการที่ค่อนข้างจะแพร่หลายอย่างหนึ่งในอินเทอร์เน็ตซึ่งมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ Usenet อยู่หลายพันแห่งทั่วโลก ทำให้การเข้าไปใช้บริการ Usenet ทำได้ไม่ลำบากมากนัก คอมพิวเตอร์ทั้งหลายที่ให้บริการ Usenet จะเชื่อมต่อกันและรับส่งข่าวสารกันด้วยวิธีที่เรียกว่า Network News Transfer Protocol (NNTP) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโปรโตคอล TCP/IP ที่เราใช้รับส่งข้อมูลกันอยู่ในเครือข่ายของอินเทอร์เน็ต นั่นเอง เมื่อเราดูจากชื่อของกลุ่มข่าวสารนั้น ก็พอจะทราบได้อ่านหัวข้อข่าวในกลุ่มจะพูดถึงเรื่องอะไร และเกี่ยวข้องกับอะไรซึ่งกลุ่มข่าวสารทั้งหมดมีอยู่หลายพันกลุ่มในทุกเรื่องที่มีผู้สนใจ
รูปแบบของ News Articles ส่วนคือ ส่วนหัวหรือ Header ส่วนเนื้อข่าวหรือ Bodyและส่วนลงท้ายหรือ Signature ซึ่งแต่ละส่วนที่ประกอบกันเป็นข่าวสารนั้นจะมีความหมายดังนี้คือ ส่วนหัวหรือ Header จะบอกถึงข้อมูลทางเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับข่าวนั้น เช่น ข่าวนี้มาจากใคร,อยู่ในหัวข้อข่าวเรื่องอะไร,ส่งมาจากไหนและเป็นข่าวลงวันที่เท่าไหร่ ส่วนเนื้อข่าวหรือ Body เป็นข้อความบรรยายในส่วนของข่าวนั้นๆ ซึ่งอาจมีความยาวของเนื้อข่าวเพียงบรรทัดเดียว หรือเนื้อข่าวยาวหลาย ๆ หน้าก็ได้
เนื้อข่าวจะมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับหัวข้อข่าวและกลุ่มข่าวสารที่ได้รับการจัดกลุ่มเอาไว้เสมอ ส่วนลงท้ายหรือ ที่เรียกว่า Signature ส่วนลงท้ายนี้จะบอกถึงรายละเอียดของผู้ส่งข่าวชิ้นนี้ เช่นอาจจะบอกชื่อ นามสกุล E-mail address และข้อความลงท้ายข่าวนั้น ๆ เครื่องที่ให้บริการ Usenet นั้นจะมีการจัดการกับข่าวที่เข้ามา โดยเมื่อได้รับข่าวเข้ามาใหม่ ก็จะใส่หมายเลขประจำข่าวนั้นให้ หมายเลขที่ว่านี้จะเพิ่มขึ้นทีละ 1 จากของเดิมที่มีอยู่ในแต่ละกลุ่มข่าว เช่น กลุ่มข่าวชื่อ comp.answers มีหัวข้อข่าวอยู่ 1720 ชิ้น เมื่อได้รับข่าวใหม่เข้ามา ข่าวชิ้นนี้จะได้รับหมายเลขประจำข่าวเป็น 1721 และเป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงเลขสูงสุดที่ตั้งเอาไว้ก็วนกลับไปใช้เบอร์ 1 ใหม่ ข่าวที่ได้รับเข้ามาจะมีกำหนดหมดอายุที่คอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ Usenet ผู้กำหนดเอาไว้ เมื่อข่าวนั้นหมดอายุก็จะถูกลบออกจากกลุ่มข่าวและหมายเลขประจำข่าวนั้นก็จะว่างลง แต่หมายเลขที่ว่างลงนี้จะยังไม่ถูกนำไปใช้ จนกว่าจะมีการวนกลับไปที่เลข 1 ใหม่ก่อน ทำให้บางครั้งเมื่อเราเรียกดูหัวข้อข่าวจากกลุ่มข่าวสารใน Usenet จะเห็นหมายเลขประจำข่าวอาจเริ่มต้นจาก 845 ไปถึง 1720 ก็ได้ซึ่งหมายความว่าข่าวตั้งแต่หมายเลข 1 ถึง 844 หมดอายุและถูกลบออกจากคอมพิวเตอร์ไปแล้ว
3.Telnet
ในกรณีที่ผู้ใช้ต้องการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นซึ่งตั้งอยู่ไกลออกไปก็สามารถใช้บริการ Telnet เพื่อเข้าไปใช้งานเครื่องดังกล่าวได้เหมือนกับเราไปที่เครื่องนั้นเองโดยจำลองคอมพิวเตอร์ของเราให้เป็นเสมือนจอภาพบนเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นได้ โปรแกรม Telnet นับได้ว่าเป็นคำสั่งพื้นฐานที่มีประโยชน์มากสำหรับการใช้งานอินเทอร์เน็ตในแบบตัวอักษร
หน้าที่ของโปรแกรม Telnet นั้นจะช่วยให้ผู้สามารถทำการ Login เข้าไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ ที่ต่อเชื่อมอยู่ในเครือข่ายได้ โดยเมื่อเราทำการ Login เข้าไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายแล้ว จะใช้คำสั่ง Telnet นี้เพื่อเข้าไป Login เครื่องอื่นๆ ได้ต่อไป โดยไม่จำเป็นต้องยกเลิกการติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกเสียก่อน ซึ่งเมื่อ Login ไปยังเครื่องอื่นๆ ได้ ก็สามารถไปเรียกใช้บริการต่างๆ บนเครื่องเหล่านั้นได้ด้วย
4.บริการด้านข้อมูลต่าง ๆ
ผู้ใช้บริการสามารถค้นหาข้อมูลต่างๆ ที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหรือหัวข้อใดๆ ได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากในอินเทอร์เน็ตมีเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ผู้เชี่ยวชาญในแขนงต่างๆ หรือผู้ที่เป็นเจ้าของข้อมูลนั้นๆเก็บข้อมูลเพื่อเผยแพร่เอาไว้มากมาย ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการศึกษาค้นคว้าและเตรียมข้อมูลได้มาก และเปรียบเสมือนมีห้องสมุดขนาดยักษ์ให้ใช้งานได้ทันที ตัวอย่างของการบริการข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
FTP (File Transfer Protocol) เป็นคำสั่งที่ใช้ในการคัดลอกไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ คำสั่งนี้มีใช้งานอยู่ในเครือข่ายของ TCP/IP ทั่วไป และเมื่อมีการให้บริการในลักษณะของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเกิดขึ้น การให้บริการ FTP จึงกลายมาเป็นบริการหนึ่งของอินเตอร์เน็ตไปด้วย โดยผู้ให้บริการจะจัดเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะให้บริการ FTP หรือเรียกว่า FTP Server ซึ่งบรรจุไฟล์ข้อมูลต่างๆ ไว้ผู้ใช้ที่อยู่ทั่วทุกมุมโลกจะสามารถใช้คำสั่ง FTP ผ่านอินเตอร์เน็ตเข้ามายังเซิฟเวอร์เหล่านี้เพื่อทำการโอนหรือคัดลอกไฟล์ข้อมูลเหล่านี้ไป (เหตุที่ใช้คำว่า “คัดลอก”ก็เพราะในทางปฏิบัติจริงๆ แล้วไฟล์ต้นทางก็ยังอยู่อย่างเดิม ในขณะที่ทางเครื่องของเราซึ่งเป็นปลายทางจะได้ข้อมูลที่เหมือนกับต้นทางขึ้นมาอีกชุดหนึ่ง แต่การทำงานของ FTP จะต่างจากการคัดลอกหรือ copy ไฟล์ทั่วไป บนระบบเครือข่ายก็คือ การทำ FTP จะมีขั้นตอนที่ซับซ้อนและรัดกุมว่า เหมาะกับระบบเครือข่ายต่อกันในระยะไกๆ เช่น ผ่านสายโทรศัพท์หรือระบบโทรคมนาคมอื่นๆ ซึ่งมีโอกาสเกิดความผิดพลาดต่างๆ ได้มากกว่าในเครือข่ายที่เป็น LAN โดยทั่วไปไฟล์ที่เก็บอยู่บน Host ที่เชื่อมกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะแบ่งเป็นหลายประเภท ได้แก่ Freeware, Sherwareและ Commercialware
-Freeware หมายถึงโปรแกรมที่มีผู้พัฒนาขึ้นเพื่อแจกจ่ายให้ผู้อื่นถ่ายโอนไฟล์ไปใช้โดยได้ต้องเสียค่าตอบแทน ผู้ที่ถ่ายโอนไฟล์ไปสามารถให้ผู้อื่นถ่ายโอนไฟล์ต่อไปได้อีกเช่นกัน แต่จะต้องไม่นำโปรแกรมนั้นไปขายโดยที่ไม่ได้แจ้งให้ผู้พัฒนาทราบ
-Shareware หมายถึง ประเภทของโปรแกรมที่มีผู้พัฒนาขึ้นเพื่อตั้งใจจะขาย โดยอนุญาติให้ผู้ที่สนใจถ่ายโอนไฟล์โปรแกรมไปลองใช้งานก่อนโดยที่ยังไม่ต้องจ่ายเงิน เมื่อใช้แล้วชอบและต้องการซื้อก็ค่อยจ่ายเงินภายหลังซึ่งมักจะมีราคาไม่สูง
-Commercial ware หมายถึง ประเภทของโปรแกรมที่เราจะต้องจ่ายเงินซื้อก่อนที่จะได้โปรแกรมนั้นมาใช้ ซึ่งโปรแกรมประเภทนี้มักจะมีเพียงรายละเอียดให้ดูได้ในอินเตอร์เน็ต ไม่มีโปรแกรมตัวอย่างให้ถ่ายโอนไฟล์ส่วนใหญ่โปรแกรมทั่วไปที่มีผู้นิยมถ่ายโอนไฟล์มาใช้มักจะเป็นประเภท Shareware เพราะราคาถูก เราสามารถลองใช้งานได้ก่อนที่จะซื้อ และผู้พัฒนาจะพัฒนาโปรแกรมอย่างต่อเนื่องมากกว่าโปรแกรมประเภท Freeware
Archie ผู้ใช้บริการจะทำตัวเสมือนเครื่องลูกข่ายที่เรียกเข้าไปใช้บริการของ Archie ซึ่งจะเสมือนกับได้ดูว่าสถานที่ซึ่งมีข้อมูลที่ตนต้องการอยู่ที่ใดก่อนจากนั้นจึงเรียกค้นไปยังสถานที่นั้นโดยตรงต่อไป
Gopher เป็นบริการค้นหาข้อมูลแบบตามลำดับชั้น ซึ่งมีเมนูให้ใช้งานได้สะดวกโปรแกรม Gopher นี้ได้รับการพัฒนาขึ้นที่มหาวิทยาลัยมิเนโซตา ฐานข้อมูลที่เก็บอยู่ในระบบเป็นฐานข้อมูลที่กระจายกันอยู่หลายแห่งแต่มีการเชื่อมโยงถึงกันเป็นชั้นๆ
Hytelnet เป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ใช้หาชื่อโฮสต์และชื่อ Login พร้อมคำอธิบายโดยย่อของแหล่งข้อมูลที่ต้องการได้ด้วยการใช้งานแบบเมนู เมื่อได้ชื่อโฮสต์ที่ต้องการแล้วสามารถเรียกติดต่อไปได้ทันที แหล่งข้อมูลส่วนใหญ่ของบริการ Hytenet นี้มักจะเป็นชื่อที่อยู่ของสมุดต่างๆ ทั่วโลก
WAIS (Wide Area Information Service) เป็นบริการที่มีลักษณะเป็นศูนย์ข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต ซึ่งได้รวบรวมข้อมูลและตัวดัชนีสำหรับค้นหาข้อมูลจำนวนมากเอาไว้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ในการค้นหาเมื่อเข้าสู่ศูนย์ข้อมูลนั้นและยังมีการเชื่อมโยงกันไปยังศูนย์ข้อมูลอื่นอีก ปัจจุบันมีศูนย์ข้อมูลแบบ WAISให้ค้นหาได้หลายที่
World Wide Web (WWW หรือ Web หรือ W3) เครือข่ายใยแมงมุมบริการ เวิร์ลไวด์เวบกำลังเติบโตในอัตราเร่งสูงสุด ถ้าจะให้จัดลำดับ บริการเวิร์ดไวด์เวบมีผู้ใช้บริการมากรองเป็นอันดับสอง จากบริการอีเมล์เท่านั้นเอง จะไม่ให้มีผู้ใช้งาน และให้บริการมากมายขนาดนี้ได้อย่างไร ก็เพราะ บริการทั้งข้อมูลข่าวสารที่แต่เดิม ทำกันบนแม่ข่าย Telnet (ผ่านทางเมนู Gopher) และบริการไฟล์ที่ทำกันบนแม่ข่าย FTP ล้วนแล้วแต่สามารถให้บริการบนเวิร์ดไวด์เวบในรูปแบบที่สวยงาม และเข้าใจง่ายกว่ากันมาก แถมบริการเวิร์ดไวด์เวบ ยังพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ จนกระทั่งสามารถสื่อสารกันด้วยมัลติมีเดีย และแม้แต่วิดิโอเต็มจอภาพได้ในอนาคต และที่สำคัญ เครื่องพีซีเชื่อมเข้าระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตกลายเป็นหน่วยหนึ่ง ของเครือข่ายในทันที ไม่ใช่เครื่องรีโมท ที่ขอเข้าไปใช้งานหน้าจอเครื่องถูก
ในปัจจุบัน มีองค์กรอิสระที่ชื่อว่า World Wide Web Consortium (W3C) คอยกำกับดูแลการเติบโตของเวบ Web Consortium ได้บัญญัติมาตรฐานขึ้นชุดหนึ่ง สำหรับการเพิ่มแม่ข่ายให้กับเวบ และเพื่อการสร้างหน้าจอของข่าวสารที่ปรากฏแก่สายตา ของผู้เข้าชมเวบ หน้าจอเหล่านี้เรียกว่า หน้าเอกสารหรือเพจ ถูกเขียนขึ้นด้วยภาษาที่มีรูปแบบเฉพาะ คือ HyperText Markup Language (HTML) เวบเพจความจริงคือ โปรแกรมที่แปลผลรูปแบบเอกสาร HTML และแปลผลคำสั่งที่บรรจุอยู่ ทั้งโปรแกรมอ่านเวบ และแม่ข่ายสื่อสาร ผ่านมาตรฐานอีกตัวหนึ่งคือ HyperText Transfer Protocol (HTTP) นี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของ TCP/IP เช่นกัน Web Consortium ได้ตีพิมพ์คุณลักษณะของ HTML และ HTTP ทำให้ทุกๆ คนบนอินเตอร์เน็ตสามารถสร้างเอกสารเวบได้อย่างสะดวกล่ายดาย การสร้างสิ่งพิมพ์เวบใหม่ที่ง่ายและเป็นแบบเปิดนี้ ทำให้มีแหล่งข่าวสารเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทุกวันนี้
เอกสารเวบจำนวนมหาศาล และการเชื่อมโยงไปยังเครือข่ายมากมายถูกสร้างขึ้นจากสังคมอินเตอร์เน็ต ไม่ใช่องค์กรควบคุม Web แต่อย่างใด Hypertext และ HyperMedia ในเอกสาร HTML ฟีเจอร์ที่จำเป็นอย่างยิ่งก็คือ ไฮเปอร์เท็กซ์ ไฮเปอร์เท็กซ์ เป็นวิธีการหนึ่งในฝังการเชื่อมโยง จากหน้าเอกสารหนึ่งไปยังอีกหน้าเอกสารหนึ่ง การเชื่อมโยงเหล่านี้แสดงอยู่ในโปรแกรมอ่านเวบเพจ บนวินโดวส์ด้วยคำที่มีสีโดเด่นในหน้าเอกสาร โดยทั่วไปจะเป็นสีสว่างที่แตกต่างไปจากข้อความอื่นๆ เมื่อคลิกการเชื่อมโยง เอกสารหน้าอื่นก็จะปรากฏขึ้น และก็มีจุดเชื่อมโยงของมันเอง ปรากฏอยู่เพื่อเชื่อมโยงไปยังเอกสารหน้าอื่นอีก บางครั้งเราเรียกจุดเชื่อมเหล่านี้ว่า ฮอทลิงค์ หรือ ไฮเปอร์ลิงค์ ขณะที่เลื่อนตัวชี้เมาส์ผ่านไปยังข้อความที่เป็นจุดเชื่อม รูปร่างของตัวชี้เมาส์จะเปลี่ยนไปเป็นรูปมือ เพื่อให้รู้ว่า คลิกที่ตรงนี้จะเชือมโยงไปยังเอกสารหน้าอื่น และเมื่อกลับมาจากเอกสารหน้าที่เชื่อมไปถึง สีของข้อความจุดเชื่อมจะเปลี่ยนไปเป็นสีอื่นที่ต่างไปจากเดิม เพื่อให้รู้ว่าจุดเชื่อมได้เคยเข้าไปชมมาแล้ว ทั้งนี้ เป็นผลพวงจากโปรแกรมอ่านเวบเพจตัวเก่งๆ ในปัจจุบันการเชื่อมไปยังจุดอื่น บางครั้งเป็นข้อความอีกตอนหนึ่งของเอกสารหน้าเดียวกัน
URL (Universal Resource Locators or Uniform Resource Locators)
ในโปรแกรมอ่านเวบเพจ ไม่ว่าตัวใด ต่างมีช่องให้เติมที่อยู่ของแหล่งข่าวสาร โดยมีรูปแบบของที่อยู่ที่เป็นสากล รู้จักกันในชื่อว่า URL ไม่ว่าแหล่งข่าวสารที่เป็นแม่ข่ายนั้นจะเป็นแม่ข่ายประเภทใด เช่น เวิร์ดไวล์เว็บ FTP , เมนู Gopher, นิวส์กรุ๊ปหรือ Telnet ก็สามารถเติมลงไปในช่อง URL เพื่อตรงไปหาได้ โดยที่อยู่ของแม่ข่ายต่างชนิดกัน จะมีรูปแบบขึ้นต้นต่างๆกันไป แต่ที่เห็นได้ชัดก็คือว่า โปรแกรมอ่านเวบเพจนี้ ทำตัวเป็นหน้าฉากสำหรับเข้าไป ใช้บริการอื่นๆ เกือบทั้งหมดของอินเตอร์เน็ต โดยจะไปเรียกใช้โปรแกรมสำหรับบริการอื่นๆ ที่ไม่ใช่เวิร์ลไวล์เว็บให้เอง เช่น
Mail, News, FPT และ Telnet เป็นต้น URL ประกอบด้วยส่วนต่าง 4 ส่วนดังต่อไปนี้ชนิดของแหล่งข้อมูลอินเตอร์เน็ต (scheme) เช่น Web, FTP, Gopher, newsgroup เป็นต้นโดยมีคำขึ้นต้นในส่วนแรกนี้ดังนี้
http สำหรับ Web
ftp สำหรับ FTP
gopher สำหรับ Gopher
news สำหรับ Newsgroup
โดยส่วนใหญ่ (สามรายการ) scheme จะต้องต่อท้ายด้วย :// เสมอ ยกเว้น news ให้ต่อท้ายด้วย : เท่านั้น เช่น news : rec. arts. theatre แอดเรสแม่ข่าย (host) เป็นชื่อ โดเมนของแม่ข่ายที่ให้บริการข้อมูล เช่น www. Infonews. co. th พอร์ต (port)บางครั้งหมายเลขพอร์ต อาจต้องระบุสำหรับแม่ข่ายบางแห่ง แต่ก็ไม่เสมอไป
รูปแบบมาตรฐานของ URL เป็นดังนี้
scheme ://host :port/path
พาธ (path) หรือเส้นทางข้อมูล (ซับไดเรกทอรี)
เช่น URL ชื่อ http ://www. dusit.ac.th จะชี้ไปยังแม่ข่ายเวบ (http) ที่มีชื่อโดเมนว่า www. dusit.ac.th ถ้าเติมชื่อ URL นี้ลงในช่อง URL หรือ Addressในโปรแกรมอ่านเวบเพจ ก็จะต้องไปยังแหล่งข่าวสารของ dusit ในที่นี้ ไม่มีการระบุพอร์ต หรือ พาธคือเข้าไปที่โฮมเพจโดยตรงเลย port มาตรฐานของ WWW คือ Port 80 อีกตัวอย่างหนึ่ง
ftp ://micorslft.com/win95/internet.doc
จะดาวโหลดไฟล์ interner.doc จากไดเรกทอรี Win95 บนแม่ข่าย FTP ของไมโครซอฟต์
(ftp.crosoft.com) ซึ่งใน URL ที่เป็นตัวใหญ่ และตัวเล็กมีความหมายเฉพาะตัวถ้าใส่ไม่ถูกต้องก็จะต้องฟ้องว่าหาไม่พบ เมื่อเข้าใจความหมายของ URL ตามนี้แล้วลองมาดูตัวเลขจำนวน URL ที่มีอยู่ในขณะนี้ซึ่งรวบรวมโดย Infoseek Ultra อันเป็น search engine ที่ดีที่สุดในขณะนี้ เท่าที่รวบรวมได้ล่าสุดนี้ มีชื่อ URL ที่ Infoseek Ultra รู้จักมากถึง 80 ล้านชื่อ ย่อมไม่ได้หมายความว่า มีเวบไซด์มากขนาดนั้น แต่แปลความได้ว่ามีข่าวสารแยกตามหัวข้อหรือเพจได้มากขนาดนั้น คิดดูเอาเองก็แล้วกันว่าต้องการอ่านข่าวสารทั้งหมดบนทางด่วนข้อมูลสายอินเตอร์เน็ตนี้ จะต้องเกิดอีกกี่ชาติถึงจะพอ
เครือข่ายใยแมงมุม( World Wide Web)
การให้บริการข่าวสารเวิร์ดไวล์เว็บ มีข่าวสารข้อมูลของตนเองเป็นสำคัญและแม่ข่ายแต่ละแห่ง ไม่จำเป็นต้องเชื่อมโยงข้อมูลถึงกันเลย คือไม่ต้องส่งข้อมูลให้ใคร และไม่ต้องรับข้อมูลจากใครด้วย แต่ในหน้าเอกสารของแม่ข่ายเหล่านี้ หรือเรียกกันว่า เพจของเวบไซด์เหล่านี้ มีไฮเปอร์เท็กซ์ และไฮเปอร์มีเดีย ที่เป็นจุดเชื่อมโยงไปยังเวบไซด์อื่น ๆ มากมายและไซด์แต่ละแห่ง มักมีไฮเปอร์ลิงค์ ที่เชื่อมไปยังเวบไซด์ ที่ให้ข่าวสารในรูปแบบและประเภทที่คล้ายคลึงกัน และเมื่อเราคลิกไฮเปอร์ลิงค์เหล่านั้น เข้าไปยังเวบไซด์ที่สนใจ ในเวบไซด์ใหม่ ก็จะมีไฮเปอร์ลิงค์อีกชุดหนึ่ง เพื่อเคลื่อนย้ายไปยังจุดอื่นๆ บนอินเตอร์เน็ต
จะเห็นว่า มีการประสานเชื่อมต่อกันเป็นตาข่ายในลักษณะที่เหมือนๆ กันใยแมงมุมจริงๆ และจึงเป็นที่มาของชื่อเวบ (Web) สำหรับบริการข่าวสารในแบบนี้
Home Page
โฮมเพจ เป็นคำที่พูดกันมากในการใช้บริการเวิร์ลไวล์เว็บ ความจริงโฮมเพจมีความหมายที่ต่างกันอยู่สองอย่าง อย่างแรก โฮมเพจ หมายถึงหน้าแรกของเว็บไซด์แต่ละแห่งจากหน้าโฮมเพจหน้าแรกนี้ เมื่อเราเชื่อมจากไฮเปอร์ลิงค์ไปยังหน้าอื่น ๆ ของเอกสารนี้ เมื่อต้องการกลับมาตั้งต้นใหม่ ในเอกสารหน้าหลัง ๆ มักมีไฮเปอร์เท็กซ์ที่เป็นข้อความทำนองว่า “กลับไปยังโฮมเพจ” ให้เลือกเพื่อกลับไปตั้งหน้าแรกเสมอ ทำให้การใช้งานเวบเพจมีความเป็นระเบียบและไม่หลงทาง
อีกความหมายหนึ่งของโฮมเพจ ก็คือหน้าแรกที่เป็นหน้าเริ่มต้น ของการเข้าสู่การใช้บริการเวิร์ลไวด์เว็บ บนอินเตอร์เน็ต เช่น Netscape Navigator ตั้งโฮมเพจของตนเองไว้ที่ home.netscape.com ส่วน Internet Explorer ก็ตั้งโฮมเพจไว้ที่ www.microsoft.com และมีปุ่ม Home ไว้ให้กดเวลาต้องการกลับมาเริ่มใหม่ อย่างไรก็ตาม โฮมเพจของโปรแกรมสามารถติดตั้ง ให้เป็นเวบไซด์ที่เราต้องการตั้งต้น เมื่อแรกใช้บริการเวิร์ลไวด์เว็บในแต่ละครั้งก็ได้ ซึ่งโฮมเพจนี้ อาจเป็นที่เราเขียนขึ้นเอง เพื่อใช้เป็นจุดตั้งต้น ในการเชื่อมไปยังเวบไซด์อื่นๆ ที่ชื่นชอบก็ได้ หาแหล่งข้อมูลเว็บได้จากที่ไหน แหล่งข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต กระจัดกระจากันอยู่ทั่วโลก และมีข้อมูลจากหลากหลายสาจา หากไม่ทราบว่า ข่าวสารที่ต้องการอยู่ที่แหล่งใด ก็เป็นการยากที่จะเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้ในเวลาอันรวดเร็ว
การค้นหาแหล่งข้อมูลบนเครือข่ายใยแมงมุมนี้มีเว็บไซด์ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องจักรชั้นยอด ในการค้นหาข้อมูลให้อย่างรวดเร็ว ชนิดที่ แทบไม่เชื่อสายตาตัวเองเลยก็แล้วกันยกตัวอย่าง search engine ที่กล่าวอ้างตนเองว่า ดีที่สุดในขณะนี้คือ Infoseek Advanced Search ได้ติดตั้งแม่ข่ายที่เป็นเครื่องของ SUN ความเร็วสูงใช้ซอฟต์แวร์ค้นหาข้อความแบบ full text ที่มีความสามารถสูง ในขนาดที่แปลภาษาได้ในระดับหนึ่ง ทำให้การค้นหาตามข้อความที่ป้อนเข้ามาได้ผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงกับความต้องการมากที่สุด เช่น สามารถแยกแยะได้ว่า ข้อความที่ใช้ค้นเป็นชื่อคน หรือแยกชื่อกับนามสกุลที่เขียนติดกัน ออกโดยอัตโนมัติได้เอง มีความสามารถในการค้นคำด้วยบูลีน เช่น AND, OR, WITHOUT โดยใช้เป็นสัญลักษณ์ +,- แทนข้อความที่ใช้ค้นหานั้น ได้มาจากการทำดัชนีของคำในแบบ full text searching จากนั้นเอกสาร URL ที่เชื่อถือได้ 50 ล้านแห่ง (จากจำนวนทั้งหมด 80 ล้านแห่ง) การค้นหา สามารถค้นหาได้จากหน้าเอกสารทั้งหมด หรือค้นจากชื่อไซท์ ชื่อ URL หรือชื่อหัวเรื่องของหน้าเอกสารก็ได้ เมื่อได้ผลตอบรับจากการค้นหาแล้วจะแสดงผล เป็นชื่อของเวบไซท์ที่มีข้อความที่ค้นหาตรงตามนั้นพร้อมข้อความขึ้นต้นย่อๆ สำหรับแหล่งข้อมูลนั้น การเข้าไปยังแหล่งที่ต้อง ก็เพียงแต่คลิกลงไปที่ไฮเปอร์ลิงค์เท่านั้น ไม่มีเครื่องจักรค้นหาข้อมูลตัวไหน ที่สะดวกสบายเท่านี้อีกแล้ว ไม่ลองใช้วันนี้แล้วจะลองใช้วันไหน ตัวอย่างเวบไซท์อื่น ที่ทำหน้าที่เป็นจักรกลในการค้นหาเช่นกัน ได้แก่ Excite, Lycos, Yahoo, Alta, Vista เป็นต้น
โทษของอินเตอร์เน็ต
โรคติดอินเตอร์เน็ต (Webaholic) อินเตอร์เน็ตก็เป็นสิ่งเสพติดหรือ? หากการเล่นอินเตอร์เน็ต ทำให้คุณเสียงาน หรือแม้แต่ทำลาย นักจิตวิทยาชื่อ Kimberly S. Young ได้ศึกษาพฤติกรรมของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตอย่างมากเป็นจำนวน 496คน โดยเปรียบเทียบกับบรรทัดฐาน ซึ่งใช้ในการจัดว่า ผู้ใดเป็นผู้ที่ติดการพนัน การติดการพนันประเภทที่ถอนตัวไม่ขึ้น มีลักษณะคล้ายคลึงกับ การติดอินเตอร์เน็ตเพราะทั้งสองอย่าง เกี่ยวข้องกับการล้มเหลว ในการควบคุมความต้องการของตนเอง โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสารเคมีใดๆ (อย่างสุรา หรือยาเสพติด)
คำว่าอินเตอร์เน็ต ในการศึกษาวิจัยเรื่องนี้ หมายถึงตัวอินเตอร์เน็ตเองระบบออนไลน์ (อย่างเช่น America On-line, Compuserve, Prodigy) หรือระบบ BBS (Bulletin Board Systems) และการศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้ระบุว่า ผู้ที่มีอาการติดอินเตอร์เน็ตรู้สึกหมกมุ่นกับอินเตอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อกับอินเตอร์เน็ตมีความต้องการใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้น ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเตอร์เน็ตได้ รู้สึกหงุดหงิดเมื่อต้องการใช้อินเตอร์เน็ตน้อยลงหรือหยุดใช้ ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นวิธีการในการหลีกเลี่ยงปัญหาหรือคิดว่าการใช้อินเตอร์เน็ตทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น หลอกคนในครอบครัวหรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเตอร์เน็ตของตัวเอง การใช้อินเตอร์เน็ตทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการสูญเสียงาน การเรียน และความสัมพันธ์ ยังใช้อินเตอร์เน็ตถึงแม้ว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก มีอาการผิดปกติอย่างเช่น หดหู่ กระวนกระวายเมื่อเลิกใช้อินเตอร์เน็ต ใช้เวลาในการใช้อินเตอร์เน็ตนานกว่าที่ตัวเองได้ตั้งใจไว้
สำหรับผู้ที่จัดว่า “อินเตอร์เน็ต” นั้นไดแสดงลักษณะอาการของการติด (คล้ายกับการติดการพนัน) และการใช้อินเตอร์เน็ต อย่างหนักเหมือนกับ การเล่นการพนัน ความผิดปกติในการกินอาหาร หรือสุราเรื้อรัง มีผลกระทบต่อการเรียน อาชีพ สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ ของคนคนนั้น ถึงแม้ว่าการวิจัยที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นว่า การติดเทคโนโลยีอย่างเช่น การติดเล่นเกมส์ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับเพศชายแต่ผลลัพธ์ข้างต้น แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่ติดอินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง วัยกลางคนและไม่มีงานทำ
เรื่องอนาจารผิดศีลธรรม (Pornography/indecent Content) เรื่องของข้อมูลต่างๆ ที่มีเนื้อหาไปในทางขัดต่อศีลธรรม ลามาอนาจาร หรือรวมถึงภาพโป๊เปลือย ต่างๆนั้นเป็นเรื่องที่มีมานานพอสมควร แล้วบนโลกอินเตอร์เน็ต แต่ไม่โจ่งแจ้ง เนื่องจากสมัยก่อนเป็นยุคที่ WWW ยังไม่พัฒนามากนัก ทำให้ไม่มีภาพออกมา แต่ในปัจจุบันภัยเหล่านี้เป็นที่โจ่งแจ้งบนอินเตอร์เน็ตและสิ่งเหล่านี้สามารถเข้าสู่เด็กและเยาวชนได้ง่าย โดยผู้ปกครองไม่สามารถที่จะให้ความดูแลได้เต็มที่เพราะว่า อินเตอร์นั้นเป็นโลกที่ไร้พรมแดนและเปิดกว้างทำสื่อนี้สามารถเผยแพร่ไปได้รวดเร็วจนเราไม่สามารถจับกุมหรือเอาผิดผู้ที่ทำสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาได้
การหาข้อมูลใน Internet ถือว่าเป็นเรื่องยาก เพราะเนื่องจากภายใน Internet จะเป็นเหมือนหอสมุดที่ไม่มีระบบไฟล์ หมายถึง ว่าสิ่งที่ส่งเข้ามาเก็บไว้ในหอสมุดจะถูกนำมากองไว้อย่างไม่เป็นระเบียบ (random piles) แม้ว่าจะมีกลไกในการค้นหาข้อมูล (Search Engines) เช่น Yahoo, Lycos, Altavista มันก็จะทำหน้าที่ทั้งพลิก ทั้งค้นกองหนังสือที่โตขึ้นเรื่อยๆ แบบซ้ำแล้วซ้ำเล่า
ปัญหา Junk Mail เป็นปัญหาจากการส่งไปรษณีย์ภัณฑ์ ที่ไม่เป็นประโยชน์กับผู้รับ (ขยะ) ไปยังผู้รับที่มี พีซี แล้วไปสร้างความแออัดให้กับ Mail Box ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์
ความล่าช้า อินเตอร์เน็ตเปรียบเสมือนทางหลวงหรือทางด่วนซึ่งแน่นขนัดไปด้วยการเจรจา ที่มีการก่อสร้างเพิ่มเติมมากขึ้น มากมายและผู้ใช้บริการทางหลวงดังกล่าวก็เพิ่มมากขึ้น
ระบบรักษาความปลอดภัยไม่มีเพียงพอ
ประวัติศาสตร์แห่งอนาคต
เทคโนโลยีแห่งการพัฒนามามากว่า 2 ศตวรรษ ไม่มีใครคาดคิดว่าอินเตอร์เน็ตจะยิ่งใหญ่เชื่อมโยงโลกทั้งหมดให้เป็นสังคมสารสนเทศ การเติบโตของอินเตอร์เน็ตทำให้มีการเชื่อมโยงทั่วทุกประเทศในโลก และมีแนวโน้มที่เติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง
อินเตอร์เน็ตได้ทำให้เข้าสู่ยุคของการใช้งานระบบ time sharing ไมโครคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องกำลังเชื่อมโยงต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ต การคำนวณเป็นแบบ Clients/Server เชื่อมโยงการทำงานเครือข่ายต่างๆ เข้าด้วยกัน มีระบบ LAN เป็นพื้นฐาน ขณะเดียวกันการสวิตซ์ข้อมูลข่าวสารก็เพิ่มความเร็วขึ้นจนขณะนี้สามารถรองรับการสื่อสารแบบมัลติมีเดียด้วยวิถีทางอินเตอร์เน็ตเป็นผลต่อการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ การเติบใหญ่ของเทคโนโลยีทำให้สิ่งที่วางไว้ในอดีตไม่พอเพียง เช่นการกำหนดหมายเลข IP ขนาด 32 บิตพัฒนาการจึงต้องปรับปรุงแก้ไข มีการขยายหมายเลข IP ในยุคใหม่ให้มีขนาดความยาวถึง128บิต
จากเส้นทางนี้เองเชื่อว่าทุกประเทศจะต้องตื่นตัวและหาทางวางโครงสร้างพื้นฐานของประเทศโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาถึงกับประกาศนโยบายของชาติในการสร้างทางด่วนข้อมูลสารสนเทศ และจะทำให้เกิดขึ้นครอบคลุมทั่วประเทศภายในปี ค.ศ.2007 ทางด่วนข้อมูลสารสนเทศดังกล่าวจะรองรับข้อมูล ข่าวสารทุกรูปแบบ ตั้งแต่วิดีโอ ทีวี โทรศัพท์ วิดีโอคอนเฟอเรนซ์ การบริการข้อมูลข่าวสารต่างๆ อีกมากมาย
ด้วยการเล็งเห็นผลประโยชน์ทางการค้ามากมายมหาศาลบนเครือข่าย สหรัฐอเมริกาถึงขั้นประกาศจัดตั้งโครงสร้าง GLLหรือ Globol Information Infrastructure โดยได้กล่าวถึงแผนการในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานของโลก ที่เชื่อมโยงเครือข่ายของประเทศต่างๆ มีแผนการในการวางเส้นใยแก้วนำแสงใต้มหาสมุทร มีการใช้ดาวเทียมสื่อสารโดยเฉพาะการใช้ดาวเทียมวงโคจรต่ำ การใช้ระบบสื่อสารต่างๆ เพื่อรองรับสังคมข่าวสารที่กำลังเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในศตวรรษหน้า
ในขณะนี้ได้มีเทคโนโลยีบางหน่วยที่จะทำให้ความฝันเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ตเป็นความจริง เทคโนโลยีนี้สามารถแปลงเน็ตให้เป็นสื่อในการเจาะตลาดที่จะมีผลกับผู้มีรายได้ทุกระดับได้อย่างรวดเร็ว ทั้งในแง่ของการเพิ่มบทบาทของเน็ตให้เป็นสื่อสำหรับผู้บริโภคส่วนใหญ่ (mass consumer) และการแปลงเน็ตให้เป็นกำลังทางอุตสาหกรรมที่สำคัญซึ่งจะมีผลกับความความคล่องตัวของตลาดรวมทั้งการมีผลต่อกลยุทธ์ทางการค้าในอนาคตอันใกล้และถ้าจะถามว่าเทคโนโลยเช่นที่ว่านี้มีชื่อเสียงเรียงนามว่าอะไร คำตอบก็คือ เป็นเทคโนโลยีเรียกว่า Embedded System (ES) หรือคอมพิวเตอร์ที่แฝงอยู่ในเครื่องมือเครื่องใช้แทบทุกชนิด
เน็ตในยุคกดปุ่ม
สิ่งที่เรียกว่า ระบบที่ฝังแฝง (Embedded system - ES) จะอยู่ในรูปของคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กมากๆ ซึ่งทนต่อการใช้งานโดยคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กนี้จะฝังตัว (หรือ เป็น Hare wired) ที่อยู่ในผลิตภัณฑ์
อินเตอร์เน็ตในอนาคตอันใกล้ในยุคของการกดปุ่มจึงไม่ได้เป็นแค่เพียงสื่อกลางในการเสนอข้อมูลหรือให้ความบันเทิง หรือเป็นศูนย์กลางในการสื่อสารของแต่ละบุคคล แต่จะเป็นจักรกลขั้นพื้นฐานที่จะขาดไม่ได้ในการเป็นแรงกระตุ้นทุกสภาพชีวิตในระบบเศรษฐกิจและสังคม
ในกรณีที่มี ISP ให้เลือกได้หลายราย และผู้ใช้เป็นลูกค้ารายใหญ่ (เช่น corporate users) หลักในการเลือก ISP ชั้นดี (ที่นอกเหนือจากเรื่องของราคาใช้จ่าย)
อัตราในการใช้เน็ตเวิร์ค (Network Utilization data)
การเชื่อมโยงเข้ากับ backbone และจำนวน Routing Points ที่ไปยัง backbone
จำนวนผู้ใช้ต่อโมเด็มไลน์
ประสิทธิภาพของทีมงานที่จะช่วยแก้ปัญหาและค่าป่วยการ
roaming service สำหรับในประเทศข้างเคียงรวมทั้งประเทศที่ไกลออกไป
คำถามเกี่ยวกับ Internet
เริ่มอินเตอร์เน็ตอย่างไรจึงจะเป็นเร็ว
อินเตอร์เน็ตไม่ใช่โลกของนักวิชาการ ไม่ใช่สโมสรของนักคอมพิวเตอร์ แต่เป็นเครื่องมือสื่อสารไม่ต่างอะไรกับโทรทัศน์ โทรศัพท์เพียงแต่เหนือชั้นกว่า มีแนวโน้มการพัฒนาสร้างสรรค์ยิ่งกว่าโทรทัศน์ และโทรศัพท์รวมกันหลายร้อยหลายพันเท่า ฉะนั้นผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจึงควรจะเป็นคนทุกกลุ่มเหล่า ทุกเพศทุกวัย นับแต่คุณหนูๆ ถึงคุณตาคุณยาย
แม้เรื่องของ Hardware จะไม่ยุ่งยากที่ไกลตัวมากนัก แต่เรื่องของการท่อง Web บนอินเตอร์เน็ตก็ยังไม่ค่อยเข้ามาใกล้ตัวสักเท่าไหร่ การเลือกแวบไซท์ไม่ง่ายเหมือนการกดปุ่มเลือกสถานีในทีวี และการทำความเข้าใจกับบริการต่างๆ ที่มีหลากหลายบนอินเตอร์เน็ตก็ไม่ใช่เรื่องราวทั่วไปสำหรับชาวบ้าน แต่กลิ่นไอและบรรยากาศนักคอมพิวเตอร์ยังคงกระจายอยู่ทั่วไป
ถ้าต้องการเป็นนักท่องอินเตอร์เน็ตได้เร็วๆ โดยไม่ต้องอ่านมาก ศึกษามาก ก็ยอมลงทุนเปิดทะเบียนอินเตอร์เน็ต ช่วงแรกๆ สำหรับนักอินเตอร์เน็ตมือใหม่นั้นควรทุ่มเทให้กับการท่อง Web site ด้วย Browser ดีๆ เช่น Netscape และ Internet Explorer เวอร์ชั่นใหม่ล่าสุด เพราะนอกจาก เพราะนอกจากจะทำให้เพลิดเพลิน ตื่นตาตื่นใจ ดึงดูดคุณให้เข้ามาติดในโลกการสื่อสารแบบนี้ ยังทำให้ความรู้เกี่ยวกับอินเตอร์เน็ตค่อยๆ ถูกดูดซับไปเรื่อยๆ ทีละน้อยการชี้แล้ว Click เมาส์ลงยังรายการเลือกที่ต้องการไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไรหนักหนา ขั้นเริ่มต้นขอเพียงเข้าใจว่าอินเตอร์เน็ตเต็มไปด้วยข้อความและภาพที่เลือกหมวดหมู่หัวข้อได้ดังนึกก็พอแล้ว
อินทราเน็ตคืออะไร
อินทราเน็ต Intranet) หมายถึง เครือข่ายเฉพาะส่วนขององค์กรหรือหน่วยงานที่นำซอฟท์แวร์หรือฮาร์ดแวร์แบบอินเตอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้ อินทราเน็ตจึงเป็นเครือข่ายเพื่อระบบงานภายในโดยมุ่งเน้นข้อมูลและสารสนเทศเพื่อบริการแก่บุคลากร เครือข่ายอินทราเน็ตจะต่อเชื่อมเข้าสู่อินเตอร์เน็ตด้วยหรือไม่นั้นไม่ใช่สิ่งสำคัญ แต่แนวคิดหลักของอินทราเน็ตคือ การสร้างเครือข่ายในองค์กรโดยมีคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่เป็นอินเตอร์เน็ตเซอร์เวอร์เพื่อให้บริการข้อมูลในรูปแบบเดียวกันกับที่ใช้งานในอินเตอร์เน็ตและขยายเทอร์มินัลเครือข่ายไปยังทุกแผนกให้บุคลากรสามารถค้นข้อมูลและสื่อสารถึงกันได้
เซิร์ฟเวอร์หลักภายในอินทราเน็ต คือ เวบเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งใช้เป็นศูนย์บริการข้อมูลข่าวสาร ระบบ WWW ให้บริการข้อมูลได้ทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหวผ่านทางโปรแกรม browser ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน โปรแกรม browser ส่วนใหญ่ได้ผนวกบริการหลักของอินเตอร์เน็ตไว้ในตัว เช่น จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) การถ่ายโอนย้ายแฟ้ม (FTP) หรือกระดานข่าว (UseNet) เป็นต้น
ทำไมต้องอินทราเน็ต
อินทราเน็ตจะช่วยปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดเอกสารที่แต่เดิมใช้วิธีทำสำเนาแจกจ่ายไม่ว่าจะเป็นข่าว ประกาศ รายงาน สมุดโทรศัพท์ภายใน หรือข้อมูลบุคลากรให้อยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์แทน เพื่อให้ผู้ใช้เรียกค้นตามต้องการแทนการป้อนข้อมูลให้โดยตรง
การกระจายข้อมูลแบบดั้งเดิมซึ่งใช้การพิมพ์สำเนาแจกจ่ายเป็นวิธีที่ง่ายและยังพบเห็นอยู่ในหลายองค์กร แต่ไม่เหมาะกับข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทำให้ต้องสำเนาใหม่ จึงสิ้นเปลืองทั้งเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่าย ตลอดจนปัญหาข้อมูลเก่าไม่ทันสภาพการณ์
การนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยจัดการปัญหาในรูปของระบบสำนักงานอัตโนมัติด้วยระบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เช่น Clients-Server อาจช่วยลดค่าใช้จ่ายบางส่วนลงไปได้ หากแต่ยังคงมีอุปสรรคเรื่องค่าใช้จ่ายการจัดซื้อซอฟต์แวร์และการฝึกอบรมบุคลากร ในขณะที่เทคโนโลยีอินทราเน็ตมีรูปแบบที่เป็นสากล มีโปรแกรมประยุกต์ที่เรียนรู้และใช้งานง่ายและแพร่หลายด้วยราคาต่ำหรือสามารถจัดหาฟรีแวร์ที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย
ลักษณะพื้นฐานของระบบ Clients-Server ที่ใช้อยู่โดยทั่วไปนั้น ผู้ใช้ที่เครื่อง Clients จะร้องขอข้อมูลจาก Server และ Server จะส่งข้อมูลไปให้ผู้ขอโดยตรง ส่วนในอินทราเน็ตเซิร์ฟเวอร์อย่าง เช่น Database Server จะส่งข้อมูลผ่านไปให้ Web Server ก่อนเพื่อแปลงให้อยู่ในรูป HTML แล้วจึงจัดส่งให้ Client อีกทอดหนึ่ง
Client Software ของระบบ Clients-Server มีหลากหลายรูปแบบการใช้งานตามรูปแบบของโปรแกรมประยุกต์ ส่วนในอินทราเน็ตมีรูปแบบใช้งานลักษณะเดียวเนื่องจากใช้ Web browser
ก่อนก้าวสู่อินทราเน็ต
การปรับเปลี่ยนระบบไปสู่อินทราเน็ตไม่ใช่เรื่องที่ซับซ้อนตามที่หลายคนดคิด หากภายในองค์กรมีเครือข่ายอยู่ก่อนเท่ากับมีโครงสร้างพื้นฐานทางฮาร์ดแวร์เตรียมพร้อมแล้วซอฟต์แวร์อินทราเน็ตมีให้เลือกหลากหลายสำหรับทุกระบบปฏิบัติไม่ว่าจะเป็นวินโดวส์ แมคอินทอช หรือยูนิกซ์
แม้ว่าในเครือข่ายจะมีเครื่องต่างประเภทกันก็ไม่เป็นปัญหา เนื่องจากหลักการของอินเตอร์เน็ตที่มาจากอินเตอร์เน็ตไม่ขึ้นอยู่กับชนิดเครื่องในเครือข่าย ไม่ว่าเครื่องนั้นจะทำหน้าที่เป็น server หรือ Client ก็ตาม จะสามารถทำงานอย่างผสมผสานกันในเครือข่ายด้วยรูปแบบการใช้โปรแกรม browser เช่นเดียวกัน
อินทราเน็ตช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมบุคลากร ตลอดจนด้านการพัฒนาโปรแกรมที่ต้องใช้โปรแกรมเมอร์พัฒนาโปรแกรมหลายรูปแบบก็จะเปลี่ยนแนวทางไป โปรแกรมเมอร์จะหันไปศึกษาหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับภาษา Hypertext (HTML) , CGL (Common Gateway Interface) และ JAVA
การติดตั้งระบบอินทราเน็ต
เตรียมพร้อม TCP/IP องค์กรที่มีการวางระบบเครือข่ายภายใต้โปรโตคอล TCP/IP พร้อมอยู่แล้ว สามารถจะเข้าสู่อินทราเน็ตได้โดยง่าย แต่ถ้าใช้งานเน็ตแวร์ภายใต้โปรโตคอล IPX/SPX ก็จำเป็นต้องติดตั้ง Gateway หรือ Router เพื่อเชื่อมเ Web Browser เข้ากับ Netware ที่มีอยู่
เลือก Hardware Hardware ที่ทำหน้าที่เป็น Web Server มีให้เลือกอย่างหลากหลาย Web Server สำหรับ Intranet จะมีสมรรถนะระดับใดขึ้นกับบริการที่มีให้และจำนวนผู้ใช้เครือข่าย เครื่องที่ให้เลือกใช้จึงมีได้ตั้งแต่ PC ซึ่งเป็น CPU Pentium, Work Station (สถานีงาน) หรือ Server สมรรถนะสูง
ประเภทของ Hardware ที่ตัดสินใจเลือกจะส่งผลต่อมาในด้านค่าใช้จ่ายทาง ซอฟต์แวร์ อย่างเช่น PC ที่ใช้ Windows NT ต้องเลือกซื้อซอฟต์แวร์เพิ่มเติมในขณะที่ เลือกซื้อ Hardware ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับเป็น Internet Server แล้ว
เลือก Software สำหรับหน่วยงานระดับเล็กที่มีงบประมาณจำกัด สามารถเลือกใช้ PC Pentium เป็น Server และเลือกใช้ ระบบปฏิบัติการ Linux ซึ่งเป็น Unix PC ที่ไม่ต้องซื้อ License เพราะเป็น Public Domain และมี Web Server มาพร้อม ส่วนเครื่องที่ทำหน้าที่เป็น Client อาจเป็น Linux เช่นเดียวกันโดยใช้ Browser เช่น Internet Explorer ถ้าใช้ Windows 95
เลือกซอฟต์แวร์ประยุกต์ อินทราเน็ตภายใต้ Linux หรือ Unix จะมีซอฟท์แวร์ประยุกต์ในรูปแบบของฟรีแวร์เป็นจำนวนมากทั้งเพื่อการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และการสร้างกลุ่มข่าว
จัดเตรียมข้อมูล ขั้นตอนนี้เป็นการติดตั้ง Web Server และนำข้อมูล พร้อมทั้งจัดเตรียมเครื่องมือในการพัฒนาระบบ Web ซึ่งผลิตภัณฑ์ทั้ง Shareware และ Freeware ให้เลือกมากมาย
อินทราเน็ต หรือ อินเทอร์เน็ต ภายในองค์กร จะเป็นเครื่องมือบริหารงานสำคัญชิ้นใหม่ที่จะช่วยให้การบริหารงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จุดเด่นหลักของอินทราเน็ตมีหลายประการ นับตั้งแต่ Server ไม่จำเป็นต้องเป็นเครื่องสมรรถนะสูงเมื่อเปรียบกับการใช้ Groupware และ Web Browser มีให้เลือกใช้อย่างหลากหลายตาม Hardware และระบบปฏิบัติการที่มีอยู่ และมีรูปแบบการใช้เหมือนกัน อีกทั้งสามารถขยายการเชื่อมต่อไปยังภายนอกได้ง่ายกว่า
แหล่งที่มา
http://csnet.dru.ac.th/lecturer/eakrin/Itlife8.htm#top
แสดงความคิดเห็น